ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
ผู้ช่วยผู้จัดการทีมสำรอง
Status: おかえり
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 04 Sep 2013
ตอบ: 6108
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Feb 25, 2023 00:25
ภาพกาแล็กซี่จากกล้อง Hubble


Pillars of Creation

กลุ่มแก๊ซและฝุ่นที่เป็นส่วนหนึ่งของ Eagle Nebula ห่างจากโลก 6500 ปีแสง เป็นโซนที่ทุกอย่างกำลังขมวดแน่นร้อนระอุเข้ามา และให้กำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ๆ พระอาทิตย์ของเราก็น่าจะถือกำเนิดแบบนี้เช่นกัน ความใหญ่ของโครงสร้างนี้คือลองดูจุดแดงๆ แต่ละจุดนั่นเทียบเท่ากับดวงอาทิตย์ 1 ดวง หรือใหญ่กว่าเป็นร้อยเท่า (ถ้ามองเป็นนิ้วมือ นิ้วซ้ายสุดนั้นสูงประมาณ 4 ปีแสง) ดาวที่เกิดใหม่จุดชนวนนิวเคลียร์และปลดปล่อยพลังในช่วงคลื่น ultraviolet ออกมามหาศาล ซึ่งแก๊ซรอบๆ ซับไว้แล้วคายแสงออกมาทำให้เกิดความสว่างอย่างที่เห็นในภาพ พลังงานและรังสีสารพัดรูปแบบที่พุ่งพล่านออกมาจากดาวเกิดใหม่ยังพัดให้แก๊ซและฝุ่นควันต่างๆ ปลิวกระจายหายไปเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว จนทุกวันนี้ ตัวเสา Pillars น่าจะถูกซัดหายไปหมดแล้ว ภาพที่เราเห็นจึงเป็นเพียงภาพจากอดีตในจังหวะที่หาดูชมได้ยากนัก

.



ถ้าซูมเอาท์ออกมาจะเห็นแบบนี้



ถ่ายในช่วงคลื่น infrared มองทะลุฝุ่นได้ เห็นดาวระยิบมากกว่าเดิม

.



Butterfly Nebula

เนบิวล่าผีเสื้อ สยายปีกกว้างกว่า 2 ปีแสง จริงๆ แล้วปีกนี้คือสสารและแก๊ซที่ระเบิดเปรี้ยงออกมาจากศูนย์กลาง ซึ่งเป็นดวงดาวที่ดับสลายตามอายุขัย แก๊ซในเนบิวล่านี้มีอุณหภูมิประมาณ 250,000 เซลเซียส สุกสว่างด้วยรังสีพลังงานสูง และกำลังพุ่งด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อวินาที เป็นภาพตัวแทนของการตายที่รุนแรงแต่งดงาม ภาพนี้เชื่อมต่อกับภาพแรกตรงสสารที่กระจัดกระจายจากการระเบิด supernova ของดาวดวงหนึ่ง สักวันก็จะขมวดแน่นเข้ามาและให้กำเนิดดาวดวงใหม่ เป็นวัฏจักรเช่นนี้มาหลายชั่วรุ่น

.






Rose Galaxy

กุหลาบอวกาศ ถือกำเนิดจากสองกาแล็กซี่ม้วนตัวมาชนกัน ห่างจากทางช้างเผือกไป 300 ล้านปีแสง การเคลื่อนผ่านกันของกาแล็กซี่เป็นปฏิสัมพันธ์ซับซ้อนของแรงโน้มถ่วงอันก่อให้เกิดรูปร่างที่แปลกตา กาแล็กซี่เล็กด้านล่าง เกี่ยวดึงแขนของกาแล็กซี่ใหญ่ด้านบน (ซึ่งปกติจะแบนๆ เป็นกงจักร) ให้ย้อยลงมาจนมีความเหลื่อมระดับ มองคล้ายกลีบกุหลาบ ในอนาคตกาแล็กซี่ทางช้างเผือกของเราเองก็จะเคลื่อนไปชนกับกาแล็กซี่แอนโดรมีดาเช่นกัน และในที่สุดก็จะรวมร่างเป็นกาแล็กซี่เดียว แม้ดาราจักรอันยิ่งใหญ่ก็ยังมีพบมีผ่าน

.

ถ้าซ้ำขออภัยครับ

CR .
Spoil

โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออนไลน์
คอมเมนเตเตอร์
Status: ^_^
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Dec 2005
ตอบ: 14949
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Feb 25, 2023 00:40
[RE: ภาพกาแล็กซี่จากกล้อง Hubble]
https://www.nasa.gov/feature/goddard/2022/nasa-s-webb-takes-star-filled-portrait-of-pillars-of-creation

พอเปลี่ยนเป็นกล้อง James Webb ถ่าย ภาพสวยๆจาก Hubble ก็กลายเป็นภาพที่ถ่ายจากเครื่องคิดเลขไปในทันที

James Wedbb เป็นกล้องที่โคตรเทพ โคตรโหดจริงๆ
3
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
Never argue with an idiot. They will drag you down to their level and beat you with experience
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status: ไม่มีใครหูหนวกไปกว่าคนที่ไม่เปิดใจฟัง ..
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 09 Mar 2007
ตอบ: 3264
ที่อยู่: Stamford Bridge
โพสเมื่อ: Sat Feb 25, 2023 04:03
[RE: ภาพกาแล็กซี่จากกล้อง Hubble]
จะมีชีวิตอยู่ถึงวันที่เทคโนโลยีของมนุษย์จะพาเราไปสำรวจรอบจักรวาลได้จริง ๆ จัง ๆ ด้วยตาตัวเองหรือเปล่านะ

เอาจริง ๆ ผมเป็นพวกชอบมากเลยนะเวลามีหนังเกี่ยวกับการออกอวกาศ และเดินทางด้วยทฤษฎีต่าง ๆ นา ๆ มากมาย

แต่ไม่นับพวกหนังไซไฟเวอร์ ๆ นะครับ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
NO MORE POCH, #PochOut

ออฟไลน์
นักบอล ดิวิชั่น 1
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 17 Apr 2009
ตอบ: 7907
ที่อยู่: แง๊น ๆ
โพสเมื่อ: Sat Feb 25, 2023 08:13
[RE: ภาพกาแล็กซี่จากกล้อง Hubble]
เอามาลงบ่อยๆ นะครับ
ผมชอบมากกับข้อมูลและเนื้อหาแบบนี้

ขอบคุณครับ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ง.
Status: จิ้งจกเสพความเหงา
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 18 Feb 2021
ตอบ: 7262
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Feb 25, 2023 08:52
[RE]ภาพกาแล็กซี่จากกล้อง Hubble
โครตสวยเลย
โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
OTY
นักบอล ดิวิชั่น 1
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 24 Jun 2019
ตอบ: 8451
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Feb 25, 2023 09:14
[RE: ภาพกาแล็กซี่จากกล้อง Hubble]
ถ้ามีทัวร์อวกาศแล้วเห็นแบบนี้คงเพลิน
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel