ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
นักเตะอบจ.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 30 Sep 2021
ตอบ: 1862
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 21:41
ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ
ตอนแรกก็ได้ข่าวการใช้ยานี้รักษาโควิด
แต่ตอนนี้ผมได้ยินเขาพูดๆกันว่า ผลข้างเคียงรุนแรง (ถ้าเกิด)

แนะนำว่ารักษากินยาพารา พักผ่อน กักตัว อะไรทั่วๆไป ดีกว่า

อยากทราบว่าจริงไหมครับ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออนไลน์
ซุปตาร์ฟุตบอลโลก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 19 May 2011
ตอบ: 2006
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 21:49
Top Comment [RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
ทำไมแนวทางการรักษาโควิดของประเทศส่วนใหญ่ในโลกนี้จึงไม่ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาโควิดกันเลย

ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาที่คิดค้นที่ประเทศญี่ปุ่นมาเพื่อใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ ซึ่งตอนที่มีการระบาดของโควิดพบว่ายาอาจจะออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสโควิดได้ในหลอดทดลอง ในช่วงแรกที่ยังไม่มียาต้านไวรัสโควิดที่มีประสิทธิภาพ จึงได้มีการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิดในช่วงแรกๆ

อย่างไรก็ตามผลในหลอดทดลองเมื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิดจริงๆ กลับไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ในปีล่าสุด(2022)ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในผู้ป่วยโควิดมากมายหลายการศึกษา ซึ่งทั้งหมดที่มีการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ที่ผ่านการตรวจสอบทบทวนโดยผู้เชี่ยวชาญ(Peer review) พบว่ามีผลการศึกษาไปในทิศทางเดียวกันทุกการศึกษา คือยาฟาวิพิราเวียร์ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโควิดเลย ทั้งกรณีที่อาการน้อย หรืออาการปานกลางถึงรุนแรง ดังตัวอย่างการศึกษาดังต่อไปนี้

1. การใช้ยาในกลุ่มที่มีอาการน้อย : การศึกษาแรกเป็นการศึกษาขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ในผู้ติดเชื้อโควิดที่มีอาการน้อยจำนวน 7654 คน โดยเปรียบเทียบการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ภายในสี่วันแรก เทียบกับไม่ได้ยาฟาวิพิราเวียร์ โดยดูผลการรักษาที่สนใจคือ การต้องใช้อ็อกซิเจน การต้องนอนโรงพยาบาล การต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และอัตราการเสียชีวิต ผลการศึกษาพบว่าทั้งสองกลุ่มที่ได้ยาและไม่ได้ยาไม่มีความแตกต่างกันเลยในผลการรักษาดังกล่าว

2. การศึกษาในกลุ่มที่มีอาการน้อย : การศึกษาที่สองเป็นการศึกษาแบบ RCT แบบ double blinded แปลว่าผู้ป่วยจะถูกสุ่มให้ยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาหลอก โดยที่แพทย์และผู้ป่วยจะไม่ทราบว่าได้รับยาจริงหรือยาหลอก ซึ่งจะช่วยลด Bias ลงไปได้ การศึกษานี้ทำในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการน้อย จำนวน 231 คน โดยจะถูกสุ่มให้ได้รับยาภายในห้าวันแรก โดยดูผลการศึกษาที่สนใจคือ ระยะเวลาที่ PCR จะกลับมาเป็นผลลบ ระยะเวลาที่อาการป่วยหายไป อัตราการนอนโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิต ผลการศึกษาพบว่าทั้งสองกลุ่มไม่มีแตกต่างกันไม่ว่าจะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือไม่ก็ตาม

3. การศึกษาในกลุ่มที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง (ในผู้ป่วยที่ต้องนอนรพ.) : การศึกษาที่สาม ทำในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรงที่ต้องนอนรพ.จำนวน 598 คน โดยเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ กับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ โดยดูผลการศึกษาที่สนใจคือ ระยะเวลาที่ต้องนอนรพ. และอัตราการเสียชีวิต โดยพบว่าข้อมูลพื้นฐานเช่น อายุ ค่า BMI ระดับอ็อกซิเจน และโรคประจำตัวของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ผลการศึกษากลับพบว่า กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ กลับมีระยะเวลาในการนอนรพ. และอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ยาฟาวิพิราเวียร์อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ

4. การศึกษาแบบ Meta-analysis โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาแบบ RCT : การศึกษาที่สี่ได้รวบรวมข้อมูลจากการศึกษาแบบสุ่ม (Randomized controlled trial: RCT) ที่ทำการเปรียบเทียบการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์กับยาหลอก จำนวนหกการศึกษา โดยเปรียบเทียบผลของการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด ผลการศึกษาพบว่าการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ได้ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น

จากข้อมูลที่มากมายไปในทิศทางเดียวกัน ในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นได้ยกเลิกการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาผู้ป่วยโดยสิ้นเชิงแล้ว และยังสั่งให้ยุติการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการศึกษาวิจัยในการรักษาผู้ป่วยโควิดด้วย

และในแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิดขององค์การอนามัยโลก(WHO) สมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐ(IDSA) ศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐ(CDC) สมาคมเวชบำบัดวิกฤตของสหรัฐและยุโรป(SCCM และ ESICM) จึงไม่ได้แนะนำให้ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาผู้ป่วยโควิดเลยแม้แต่คำแนะนำเดียว

โดยส่วนใหญ่แล้วในผู้ป่วยที่มีอาการน้อย และไม่ได้มีความเสี่ยง เช่นสูงอายุหรือมีโรคประจำตัว จะไม่ได้ประโยชน์จากการใช้ยาต้านไวรัสแต่อย่างใด และถ้ามีข้อบ่งชี้ในการใช้ยาต้านไวรัสจริงๆ การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ก็แทบจะไม่มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยมาสนับสนุนว่าจะมีประโยชน์เลยแม้แต่น้อย

ในปัจจุบันแม้ว่าเราจะมียาต้านไวรัส ที่มีผลการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าเป็นทางเลือกที่ชัดเจน เช่น Remdesivir, Paxlovid, Monulpiravir, Monoclonal antibody แต่อย่างไรก็ตามยาดังกล่าว จะมีประโยชน์ชัดเจนในกลุ่มที่มีอาการน้อย แต่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น ยังไม่มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นประโยชน์ที่ชัดเจน ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือมีอาการที่รุนแรงมากๆไปแล้ว(เนื่องจากยาต้านไวรัสจะได้ผลดี ถ้าให้เร็วในช่วงต้นๆของการติดเชื้อ แต่จะไม่ได้ผล ถ้ารอไปให้ในวันหลังๆ หรือตอนรับการรักษาในไอซียู) และยาดังกล่าวยังมีราคาที่แพงมากและมีจำนวนที่ไม่เพียงพอหรือเข้าถึงได้ยากอยู่ในปัจจุบัน วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาการติดเชื้อโควิดที่มีอาการรุนแรงในทุกๆคำแนะนำก็คือการรีบเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นกันนะครับ

เอกสารอ้างอิง

1. Effectiveness of Favipiravir on Nonsevere, Early-Stage COVID-19 in Japan: A Large Observational Study Using the COVID-19 Registry Japan. Infect Dis Ther. 2022 Mar 21:1–13.

2. Efficacy of favipiravir in adults with mild COVID-19: a randomized, double-blind, multicentre, placebo-controlled clinical trial. Clin Microbiol Infect. 2022 Apr;28(4):602-608.

3. Favipiravir Effectiveness and Safety in Hospitalized Moderate-Severe COVID-19 Patients: Observational Prospective Multicenter Investigation in Saudi Arabia. Front Med (Lausanne). 2022 Mar 4;9:826247.

4. Future of antivirals in COVID-19: The case of favipiravir. Int Immunopharmacol. 2022 Feb;103:108455.

ปล. เนื่องจาก FB นี้ เป็น FB ส่วนตัว ดังนั้นอาจจะลงโพสในเรื่องทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโควิดด้วย ถ้าท่านใดสนใจติดตามข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโควิด อาจจะเข้าไปกด Like หรือ Follow เพจ "ปอดและไอซียูง่ายนิดเดียว" แทนการขอ add friend ก็ได้นะครับ จะได้ไม่เป็นการรบกวนเวลาอันมีค่าของทุกๆท่านนะครับ ขอบคุณนะครับ






https://www.facebook.com/717891069/posts/pfbid02HfNLKea3PahyncMtpPg9sQ73eSzb6gujF2svVaRGrSovTuFEHsKh3q7sFHfsPVyql/
ออฟไลน์
ดาวเตะพรีเมียร์ลีก
Status: ตำนาน.....เมื่อยมือ
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 18 May 2011
ตอบ: 9147
ที่อยู่: Top Secret
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 21:42
[RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
น่าจะจริง รอบข้างที่ป่วยถ้าไม่หนักมากเขาจ่ายยาตามอาการเลย เช่นพารา ยาแก้ไอ ยาลดนํ้ามูก
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอล ดิวิชั่น 1
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 06 Apr 2014
ตอบ: 2141
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 21:43
[RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
คอนเซปนี้ใช้กันทุกยาแหละครับ อะมอกซีแพ้รุนแรงก้อตาย(ถ้าเกิด) ดังนั้นใช้ยาตามข้อบ่งชี้ ไม่จำเปนก้อไม่ต้องกินแค่นั้นพอ แต่นิสัยคนไทยส่วนนึงก้อจะแบบขอกินยาเยอะไว้ก่อน หมอให้แต่พาราด่าแม่ม
5
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะอบต.
Status: ชูชัน
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 04 Nov 2009
ตอบ: 4775
ที่อยู่: chaing mai,tae chee dong ,
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 21:44
[RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
เพิ่ง2 ขีดวันนี้ กินครั้งแรกจัดมา9เม็ดเดี๋ยวมารีวีวครับ ตัวร้อนจัดตตั้งแต่เมื่อคืนตอนนี้ยังไม่หายเลย
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ทัณฑ์บนครั้งที่ 2
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 23 Mar 2010
ตอบ: 12421
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 21:45
[RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
ตอนผมไป hospitel

เขาจ่ายยาตัวนี้ให้กินทุกวัน

ผมไม่กินเลย แค่ได้ยินเรื่องที่ว่ามันจะทำให้ผมร่วง

สุดท้ายผมก็เอายามาเก็บไว้เฉยๆโดยที่ไม่กิน แล้วกินแต่ยาแก้ไอ กับ พารา อย่างเดียว ก็็หายเป็นปกติดี ไม่มีอาการลองโควิดด้วย

ก็แล้วแต่วิจารณญานท่านเลยครับ จะกินไม่กิน

แต่ผมได้ยินเรื่องเกี่ยวกับผลข้างเคียงต่างๆ ผมเลยตัดสินใจไม่กินเอง แค่นั้น
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะเทศบาล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 24 Dec 2009
ตอบ: 30521
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 21:47
[RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
จริง ยาอันตราย
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
ซุปตาร์ฟุตบอลโลก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 19 May 2011
ตอบ: 2006
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 21:49
[RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
ทำไมแนวทางการรักษาโควิดของประเทศส่วนใหญ่ในโลกนี้จึงไม่ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาโควิดกันเลย

ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาที่คิดค้นที่ประเทศญี่ปุ่นมาเพื่อใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ ซึ่งตอนที่มีการระบาดของโควิดพบว่ายาอาจจะออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสโควิดได้ในหลอดทดลอง ในช่วงแรกที่ยังไม่มียาต้านไวรัสโควิดที่มีประสิทธิภาพ จึงได้มีการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิดในช่วงแรกๆ

อย่างไรก็ตามผลในหลอดทดลองเมื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิดจริงๆ กลับไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ในปีล่าสุด(2022)ได้มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในผู้ป่วยโควิดมากมายหลายการศึกษา ซึ่งทั้งหมดที่มีการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ที่ผ่านการตรวจสอบทบทวนโดยผู้เชี่ยวชาญ(Peer review) พบว่ามีผลการศึกษาไปในทิศทางเดียวกันทุกการศึกษา คือยาฟาวิพิราเวียร์ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโควิดเลย ทั้งกรณีที่อาการน้อย หรืออาการปานกลางถึงรุนแรง ดังตัวอย่างการศึกษาดังต่อไปนี้

1. การใช้ยาในกลุ่มที่มีอาการน้อย : การศึกษาแรกเป็นการศึกษาขนาดใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ในผู้ติดเชื้อโควิดที่มีอาการน้อยจำนวน 7654 คน โดยเปรียบเทียบการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ภายในสี่วันแรก เทียบกับไม่ได้ยาฟาวิพิราเวียร์ โดยดูผลการรักษาที่สนใจคือ การต้องใช้อ็อกซิเจน การต้องนอนโรงพยาบาล การต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และอัตราการเสียชีวิต ผลการศึกษาพบว่าทั้งสองกลุ่มที่ได้ยาและไม่ได้ยาไม่มีความแตกต่างกันเลยในผลการรักษาดังกล่าว

2. การศึกษาในกลุ่มที่มีอาการน้อย : การศึกษาที่สองเป็นการศึกษาแบบ RCT แบบ double blinded แปลว่าผู้ป่วยจะถูกสุ่มให้ยาฟาวิพิราเวียร์หรือยาหลอก โดยที่แพทย์และผู้ป่วยจะไม่ทราบว่าได้รับยาจริงหรือยาหลอก ซึ่งจะช่วยลด Bias ลงไปได้ การศึกษานี้ทำในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการน้อย จำนวน 231 คน โดยจะถูกสุ่มให้ได้รับยาภายในห้าวันแรก โดยดูผลการศึกษาที่สนใจคือ ระยะเวลาที่ PCR จะกลับมาเป็นผลลบ ระยะเวลาที่อาการป่วยหายไป อัตราการนอนโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิต ผลการศึกษาพบว่าทั้งสองกลุ่มไม่มีแตกต่างกันไม่ว่าจะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์หรือไม่ก็ตาม

3. การศึกษาในกลุ่มที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง (ในผู้ป่วยที่ต้องนอนรพ.) : การศึกษาที่สาม ทำในผู้ป่วยโควิดที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรงที่ต้องนอนรพ.จำนวน 598 คน โดยเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ กับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ โดยดูผลการศึกษาที่สนใจคือ ระยะเวลาที่ต้องนอนรพ. และอัตราการเสียชีวิต โดยพบว่าข้อมูลพื้นฐานเช่น อายุ ค่า BMI ระดับอ็อกซิเจน และโรคประจำตัวของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ผลการศึกษากลับพบว่า กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ กลับมีระยะเวลาในการนอนรพ. และอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ยาฟาวิพิราเวียร์อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ

4. การศึกษาแบบ Meta-analysis โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาแบบ RCT : การศึกษาที่สี่ได้รวบรวมข้อมูลจากการศึกษาแบบสุ่ม (Randomized controlled trial: RCT) ที่ทำการเปรียบเทียบการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์กับยาหลอก จำนวนหกการศึกษา โดยเปรียบเทียบผลของการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด ผลการศึกษาพบว่าการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ได้ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น

จากข้อมูลที่มากมายไปในทิศทางเดียวกัน ในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นได้ยกเลิกการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาผู้ป่วยโดยสิ้นเชิงแล้ว และยังสั่งให้ยุติการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการศึกษาวิจัยในการรักษาผู้ป่วยโควิดด้วย

และในแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิดขององค์การอนามัยโลก(WHO) สมาคมโรคติดเชื้อแห่งสหรัฐ(IDSA) ศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐ(CDC) สมาคมเวชบำบัดวิกฤตของสหรัฐและยุโรป(SCCM และ ESICM) จึงไม่ได้แนะนำให้ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาผู้ป่วยโควิดเลยแม้แต่คำแนะนำเดียว

โดยส่วนใหญ่แล้วในผู้ป่วยที่มีอาการน้อย และไม่ได้มีความเสี่ยง เช่นสูงอายุหรือมีโรคประจำตัว จะไม่ได้ประโยชน์จากการใช้ยาต้านไวรัสแต่อย่างใด และถ้ามีข้อบ่งชี้ในการใช้ยาต้านไวรัสจริงๆ การใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ก็แทบจะไม่มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยมาสนับสนุนว่าจะมีประโยชน์เลยแม้แต่น้อย

ในปัจจุบันแม้ว่าเราจะมียาต้านไวรัส ที่มีผลการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าเป็นทางเลือกที่ชัดเจน เช่น Remdesivir, Paxlovid, Monulpiravir, Monoclonal antibody แต่อย่างไรก็ตามยาดังกล่าว จะมีประโยชน์ชัดเจนในกลุ่มที่มีอาการน้อย แต่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น ยังไม่มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นประโยชน์ที่ชัดเจน ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำ หรือมีอาการที่รุนแรงมากๆไปแล้ว(เนื่องจากยาต้านไวรัสจะได้ผลดี ถ้าให้เร็วในช่วงต้นๆของการติดเชื้อ แต่จะไม่ได้ผล ถ้ารอไปให้ในวันหลังๆ หรือตอนรับการรักษาในไอซียู) และยาดังกล่าวยังมีราคาที่แพงมากและมีจำนวนที่ไม่เพียงพอหรือเข้าถึงได้ยากอยู่ในปัจจุบัน วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาการติดเชื้อโควิดที่มีอาการรุนแรงในทุกๆคำแนะนำก็คือการรีบเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นกันนะครับ

เอกสารอ้างอิง

1. Effectiveness of Favipiravir on Nonsevere, Early-Stage COVID-19 in Japan: A Large Observational Study Using the COVID-19 Registry Japan. Infect Dis Ther. 2022 Mar 21:1–13.

2. Efficacy of favipiravir in adults with mild COVID-19: a randomized, double-blind, multicentre, placebo-controlled clinical trial. Clin Microbiol Infect. 2022 Apr;28(4):602-608.

3. Favipiravir Effectiveness and Safety in Hospitalized Moderate-Severe COVID-19 Patients: Observational Prospective Multicenter Investigation in Saudi Arabia. Front Med (Lausanne). 2022 Mar 4;9:826247.

4. Future of antivirals in COVID-19: The case of favipiravir. Int Immunopharmacol. 2022 Feb;103:108455.

ปล. เนื่องจาก FB นี้ เป็น FB ส่วนตัว ดังนั้นอาจจะลงโพสในเรื่องทั่วไปที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโควิดด้วย ถ้าท่านใดสนใจติดตามข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโควิด อาจจะเข้าไปกด Like หรือ Follow เพจ "ปอดและไอซียูง่ายนิดเดียว" แทนการขอ add friend ก็ได้นะครับ จะได้ไม่เป็นการรบกวนเวลาอันมีค่าของทุกๆท่านนะครับ ขอบคุณนะครับ






https://www.facebook.com/717891069/posts/pfbid02HfNLKea3PahyncMtpPg9sQ73eSzb6gujF2svVaRGrSovTuFEHsKh3q7sFHfsPVyql/
ออนไลน์
คอมเมนเตเตอร์
Status: ^_^
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Dec 2005
ตอบ: 15013
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 21:58
[RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
เดี๋ยวนี้คนไข้ Admit เพราะตับอักเสบจาก Favi เยอะกว่า Covid แล้วอ่ะครับ
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
Never argue with an idiot. They will drag you down to their level and beat you with experience
ออฟไลน์
แข้งดัทช์ลีก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 7618
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 21:59
ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ
ส่วนตัว ไม่แน่ใจ
แต่ตอนนี้ไม่มีผลข้างเคียงอะไรที่เห็นได้ชัด
ผ่านมา 3 เดือนละ
โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

ออนไลน์
ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 06 Apr 2014
ตอบ: 27095
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 22:00
[RE]ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ
จากผลการศึกษา แม้แต่ประเทศต้นฉบับยานี้ ยังเลิกใช้อะครับ

ประสิทธิภาพไม่ดี ต่อให้ผลข้างเคียงไม่ได้อันตรายมาก เค้าก็ไม่ใช้
โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน


ออนไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 28 Dec 2017
ตอบ: 15201
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 22:03
[RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
ตอนผมติดโควิด ผมก็ไม่รับมาครับ อาการไม่ได้หนักอะไรมากอย่ากินเลย
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวเตะพรีเมียร์ลีก
Status: It's not that I'm evil I just don't like to preten
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Apr 2008
ตอบ: 25206
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 22:04
[RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
ตอนผมกินก็ขึ้นหัวนิดๆ ไม่มีอะไรมาก แต่ถ้ารอบหน้าผมคงไม่กินแล้วล่ะ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
โคตรตำนานซ็อคเกอร์ซัค(ระดับสูงสุด)
Status: ♥o♥)여자친구 ♥♫ (ง'̀-'́)ง 프로미스나인 ♥♫ (✿˵◕‿◕˵)이달의소녀 ♥♫
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 12 Aug 2017
ตอบ: 12336
ที่อยู่: Source Music.
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 22:06
[RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
จริง รวมถึงต่างประเทศอะแทบจะเลิกแนะนำให้ใช้ยานี้แล้ว สถานการณ์ปัจจุบันมันไม่ได้รุนแรงฉุกเฉินขนาดต้องกินยานี้อีก เพราะเอาจริงคือมันไม่มีประสิทธิภาพและไม่ใช้ยารักษาโควิดแต่แรก แค่สถานการณ์ตอนนั้นมันไม่มีทางเลือกมากนักเลยต้องใช้ยานี้
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
Onion Member
Status: Ola..
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 15 Sep 2005
ตอบ: 10879
ที่อยู่: Ola~
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 22:07
[RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
จ่ายให้เฉพาะที่ xray เชื้อ ลงปอด ไอ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
แผล่บๆ เรื้อนๆ ปั้มเรป วู้ !!!
ออฟไลน์
(ทัณฑ์บนครั้งสุดท้าย)

ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status: You'll Never Walk Alone
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Jun 2018
ตอบ: 10166
ที่อยู่: Anfield Rd, Liverpool
โพสเมื่อ: Sat Jun 25, 2022 22:08
[RE: ได้ยินมาว่ายาฟิวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียงมาก ถ้าติดโควิดอย่าใช้จริงไหมครับ]
ผมคนนึงที่ติดโควิดโอไทครอนช่วงต้นปี2022 ได้ไปรับยาฟาวิฯกลับมากินที่บ้าน พร้อมกับกินยาตามอาการ

ซึ่งในระหว่างที่รอลงทะเบียนรับยาฟาวิฯนั้น ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้พูดคุยและชี้แจงให้เราทำความเข้าใจกับยาฟาวิฯด้วย

เนื้อหาประมาณว่า เค้าแนะนำให้กินยาตามอาการมากกว่ากินยาฟาวิฯ เพราะยาฟาวิฯอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้

แต่ถ้าคนไข้ต้องการรับยาฟาวิฯไปทานจริงๆก็ได้ ทางรพ.ไม่ได้บังคับ เพราะตอนนั้นโอไมครอนพึ่งมาใหม่ๆ คนส่วนมากยังไม่แน่ใจกับการกินยาตามอาการมากกว่าฮะ

ส่วนตอนนี้ผ่านมา4เดือนละ ยังไม่มีอาการอะไรตามมาฮะ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel