ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออนไลน์
หัวหน้าแมวมอง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Dec 2013
ตอบ: 36852
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Aug 08, 2020 18:02
ครบรอบเหตุการณ์ 8888 ที่พม่า รอบ 32 ปี ที่ประท้วงกันถึงหลักล้านของ นศ.พม่า


เหตุการณ์ในภาพเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 เดือนสิงหาคม( เดือนที่ 8 ) ปี 1988

เหตุการณ์ ‘8888’ เป็นเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงใหญ่เพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหารและเรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ซึ่งถือว่าเป็นการลุกฮือของประชาชนชาวพม่าครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองพม่าที่ต้องการให้นายพลเนวินและรัฐบาลเผด็จการทหารออกจากอำนาจหลังจากที่ปกครองประเทศตั้งแต่ ค.ศ. 1962

ตลอดระยะเวลา 26 ปีที่รัฐบาลของนายพลเนวินยึดอำนาจและปกครองประเทศในนามพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า (The Burma Socialist Program Party-BSPP) หรือที่เรียกกันว่า ‘ระบอบเนวิน’ นำพาประเทศไปสู่ความตกต่ำถึงขีดสุดทั้งเศรษฐกิจและการเมือง จนประชาชนมิอาจทนได้อีกต่อไปและเป็นชนวนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ประท้วงต่อต้านรัฐบาล แต่ผู้ประท้วงถูกตอบโต้ ปราบปรามอย่างหนัก รัฐบาลสั่งยิงกลุ่มนักศึกษาที่ชุมนุม และระเบิดตึกกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง และสั่งปิดมหาวิทยาลัย เหตุการณ์ดังกล่าวปิดฉากลงอย่างไม่สวยงามนัก มีเหยื่อการปราบปรามในฐานะนักโทษการเมืองจำนวนมากถูกนำตัวไปจองจำในคุกเป็นเวลาหลายปี พร้อมเรื่องราวของการถูกทรมาน

ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ข่าวของการประท้วงไปถึงเขตชนบท และ 4 วันก่อนการประท้วง นักศึกษาทั่วประเทศออกมาประท้วงให้เส่ง วินลาออกและรัฐบาลทหารสลายตัวไป มีการติดโปสเตอร์ตามถนนในย่างกุ้งโดยสหภาพนักศึกษาพม่าทั้งมวล กลุ่มใต้ดินออกมาเคลื่อนไหวซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับที่อยู่เบื้องหลังการประท้วงของพระสงฆ์และคนงานใน พ.ศ. 2523 ในช่วง 2-10 สิงหาคม กลุ่มผู้ประท้วงได้ปรากฏตัวในเมืองส่วนใหญ่ในพม่า

ในช่วงนี้ หนังสือพิมพ์ของฝ่ายต่อต้านได้ตีพิมพ์อย่างอิสระ การเดินขบวนประท้วงสามารถทำได้ และผู้ปราศรัยได้รับการคุ้มครอง ในย่างกุ้ง สัญลักษณ์แรกของการเคลื่อนไหวปรากฏในวันพระที่ชเวดากอง ซึ่งนักศึกษาออกมาสนับสนุนการประท้วง ในบางพื้นที่มีการบริจาคเพื่อสนับสนุนการเดินขบวน

ในช่วง 2-3 วันแรกของการประท้วงในย่างกุ้ง ผู้ประท้วงได้ติดต่อทนายและพระในมัณฑะเลย์เพื่อให้เข้าร่วมการประท้วง นักศึกษาเข้าร่วมการประท้วงอย่างรวดเร็ว พร้อมกับชาวพม่าหลายอาชีพ การประท้วงบนถนนในย่างกุ้งได้แพร่กระจายไปตามเมืองสำคัญ มีผู้ประท้วง 10,000 คนที่พระเจดีย์สุเล มีการเผาหุ่นของเน วินและเส่ง วิน มีการประท้วงเกิดขึ้นต่อเนื่องในสนามกีฬาและโรงพยาบาลทั่วประเทศ

รัฐบาลได้ประกาศกฏอัยการศึกในวันที่ 3 สิงหาคมห้ามชุมนุมเกิน 5 คนและห้ามออกนอกเคหสถานระหว่าง 20.00 – 4.00 น.




ในห้วงวันที่ 8 - 12 สิงหาคม 1988 การนัดหยุดงานที่วางแผนไว้เริ่มในวันที่ 8 สิงหาคม การประท้วงอย่างหนักเกิดขึ้นทั้งพม่ารวมทั้งชนกลุ่มน้อย ชาวพุทธและมุสลิม นักศึกษา คนงาน เยาวชน ล้วนออกมาประท้วง มีการเรียกร้องให้ทหารออกมาร่วมกับการเรียกร้องของประชาชน ในมัณฑะเลย์มีการประท้วงอย่างเป็นระบบและอภิปรายเกี่ยวกับระบบหลายพรรค ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ผู้เข้าร่วมมาจากเมืองและหมู่บ้านใกล้เคียง มีการนัดหยุดงาน ชาวนาที่ไม่พอใจรัฐบาลได้ไปประท้วงที่ย่างกุ้ง

หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลไดมีคำสั่งให้สลายฝูงชนด้วยอาวุธ เน วินสั่งว่า “ปืนไม่ได้มีไว้ยิงขึ้นฟ้า” ผู้ประท้วงได้ใช้ดาบ มีด ก้อนหิน สารพิษและรถจักรยานเป็นอาวุธ ผู้ประท้วงเผาสถานีตำรวจ ในวันที่ 10 สิงหาคม ทหารได้บุกเข้าไปในโรงพยาบาลย่างกุ้ง ฆ่าหมอและพยาบาลที่รักษาผู้บาดเจ็บจากการประท้วง วิทยุของรัฐบาลรายงานว่ามีผู้ถูกจับกุม 1,451 คน ทหารได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 95 คน บาดเจ็บ 240 คน



ภาพทหารพม่าที่คอยสังเกตุการณ์พร้อมอาวุธปืนสงครามไว้สำหรับการรับมือฝูงนักศึกษาพม่า

เส่ง วินได้ลาออกอย่างไม่มีใครขาดหมายในวันที่ 12 สิงหาคม ทำให้ผู้ประท้วงเกิดความสับสน ในวันที่ 19 สิงหาคม ท่ามกลางเสียงเรียกร้องต้องการรัฐบาลพลเรือน ดร. หม่อง หม่องได้เข้ามาเป็นรัฐบาล ซึ่งเขาเป็นพลเรือนคนเดียวในพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ามาของหม่อง หม่องทำให้นักศึกษาที่เป็นแกนนำในการประท้วงได้ประกาศปฏิเสธการแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ การประท้วงเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ในมัณฑะเลย์มีผู้ออกมาประท้วง 100,000 คนรวมทั้งพระสงฆ์ และในชิตตเวอีก 50,000 คน มีการเดินขบวนในตองจีและมะละแหม่ง อีก 2 วันต่อมามีผู้คนหลากหลายอาชีพเข้าร่วมการประท้วง ในช่วงนี้



นางอองซาน ซูจี บุตรสาวของ พลตรีอองซาน วีรบุรุษของพม่า

ในวันที่ 26 สิงหาคม อองซาน ซูจีได้ออกมาร่วมกับผู้ประท้วงที่พระเจดีย์ชเวดากองซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการกลายเป็นสัญลักษณ์เพื่อการต่อสู้ในพม่า ซูจีเรียกร้องให้ประชาชนชุมนุมโดยสงบ ณ จุดนี้ ในเวลานั้น การลุกฮือมีลักษณะคล้ายกับการกำเริบพลังประชาชนในฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2529 ในเวลานี้ อูนุและอาวจีได้กลับมามีบทบาททางการเมืองอีก

ในการประชุมสภาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2531 มีผู้ออกเสียงให้ใช้ระบบหลายพรรคการเมืองถึง 90% พรรคโครงการสังคมนิยมพม่าออกมาประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้ง แต่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้ลาออก เพื่อให้มีรัฐบาลชั่วคราวเข้ามาจัดการเลือกตั้ง พรรคโครงการสังคมนิยมพม่าปฏิเสธ ทำให้กลุ่มผู้ประท้วงออกมาอีกครั้งในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2531 ในช่วงกลางเดือนกันยายน การประท้วงเป็นไปด้วยความรุนแรงและผิดกฎหมาย เกิดการประท้วงกันอย่างรุนแรง



ในวันที่ 18 กันยายน ทหารได้กลับมาปกครองประเทศอีกครั้ง นายพลซอหม่องได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517 และจัดตั้งสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐหรือสลอร์ก หลังจากที่ได้ประกาศกฏอัยการศึก ได้เกิดการประท้วงที่รุนแรงขึ้น นักศึกษา พระสงฆ์และนักเรียนราวพันคนถูกสังหาร และมีประชาชนอีก 500 คนถูกฆ่าในการประท้วงนอกสถานทูตสหรัฐอเมริกา นักศึกษาบางส่วนได้หลบหนีเข้ามาในประเทศไทย

สิ้นเดือนกันยายน ประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตราว 3,000 คน และผู้บาดเจ็บไม่ทราบจำนวน เฉพาะในย่างกุ้งมีผู้เสียชีวิตประมาณพันคน ในวันที่ 21 กันยายน รัฐบาลได้เข้ามาปกครองประเทศและขบวนการต่อต้านได้สลายตัวไปในเดือนตุลาคม เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2531 เชื่อว่าผู้เสียชีวิตร่วมหมื่นคนและสูญหายอีกจำนวนมาก


ข้อมูลจาก : วิกิพิเดีย




















ภาพชาวพม่ารำลึกเหตุการณ์เหตุการณ์ 8888 ในทุกๆปี

สรุปหลังเกิดเหตุการณ์นี้
1.มีชาวพม่าตายอย่างน้อยหลักพัน คือทหารพม่าฆ่าไม่เลี้ยง รัฐบาลทหารพม่าไม่ยอมเสียอำนาจเป็นอันขาด
2.นายพลเน วิน สามารถไปพ้นได้แต่รัฐบาลทหารพม่าก็หาทางอื่นไหลไปเรื่อยคือก็หาทางอื่นละ เปลี่ยนนโยบายจบ แต่รัฐบาลยังถูกปกครองโดยทหาร
3.นักศึกษาที่ประท้วงที่โดนหมายหัวต้องหนีออกนอกประเทศไม่ว่าจะมายังประเทศไทย หรือ อินเดีย จนถึงขั้นอินเดียปิดพรมแดน
4.รัฐบาลทหารพม่าเริ่มพยายามทำท่าทีว่าปูทางพม่าไปประชาธิปไตยสุดท้ายก็ยังเป็นแบบเดิม ถึงมีเลือกตั้งแล้วก็ตาม แต่ผู้ที่ใหญ่ที่สุดก็คือ ผู้บัญชาการสูงสุดของพม่า ไม่ใช้ ปธน.ของพม่า เคยมีข่าวว่าฝั่งค้านจะลดจำนวนที่นั่ง ส.ส.ของทหาร แต่ทางทหารพม่าออกอาการขึงขังไม่ยอมท่าเดียว
5.รัฐบาลทหารพม่า จะยอมอ่อนข้อให้มากขึ้น แต่จะไม่มีทางยอมเสียอำนาจ รวมทั้งจะใช้ความรุนแรงน้อยลง แต่ถ้าประท้วงอย่างรุนแรง ก็จะทำเช่นเดิม เหมือนในเหตุการณ์ การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ หรือ การประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ในปี 2007 กำจัดด้วยความรุนแรงเหมือนเดิม แต่ยังเบากว่าเหตุการณ์ 8888 ที่ตอนนั้นฝูงชนหลักล้าน


จะว่าไปภาพความเหตุการณ์รุนแรงมีน้อยมากๆ อาจจะสืบเนื่องด้วยทหารพม่าในสมัยก่อนใครเขียนเหตุการณ์นี้ จะมีทหารไปเคาะประตูบ้าน






ถึงเหตุการณ์จะผ่านมามีการเลือกตั้งแล้วของประเทศพม่า แต่ทว่าอองซานซูจีก็ทำไรไม่ได้นอก เพราะทหารพม่าไม่ยอมให้ใครมานำทางให้นอกจากพวกเดียวกันเอง






คลิปนี้ยืนยันได้ว่าทหารพม่าจะไม่ยอมถอยออกจากการเมืองเด็ดขาด ไม่ว่ายังไงก็ตาม








ถ้าอยากรู้ว่าทุกวันนี้ทหารพม่าที่มีการเลือกตั้งอำนาจน้อยลงไปก็ดูในภาพสปอยได้เลย

Spoil
ภาพปัจจุบันถึงแม้ว่าพม่าจะมีการเลือกตั้งแล้วก็ตาม
















แต่ละภาพ ก็รู้ละว่า อองซานซูจี ขยับไม่ได้เลยมั้ง อีกทั้งในภาพที่ลงมาคงจะไม่ได้ทำงานกันในค่ายทหารแน่ๆละ
 


1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออฟไลน์
แข้งเจลีก
Status: mobile ลูกพ่อ
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 11 Aug 2008
ตอบ: 2815
ที่อยู่: MOPH
โพสเมื่อ: Sat Aug 08, 2020 18:05
[RE]ครบรอบเหตุการณ์ 8888 ที่พม่า รอบ 32 ปี ที่ประท้วงกันถึงหลักล้านของ นศ.พม่า
คนพม่าคนนึงที่ผมรู้จัก (แต่ไม่เจอกันมา 5 ปีละ) จบ ป.ตรี สาขา คณิตศาสตร์ ที่พม่า
ก็เป็นหนึ่งในกลุ่ม นักศึกษาที่ประท้วงนี่แหล่ะ แล้วหนีเข้าไทย มีงานอะไรทำก็ทำไป ล่าสุดที่เจอคือเป็นล่ามให้ รง.แถวบ้าน
โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
หัวหน้าแมวมอง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Dec 2013
ตอบ: 36852
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Aug 08, 2020 18:12
[RE: ครบรอบเหตุการณ์ 8888 ที่พม่า รอบ 32 ปี ที่ประท้วงกันถึงหลักล้านของ นศ.พม่า]
wit_united พิมพ์ว่า:
คนพม่าคนนึงที่ผมรู้จัก (แต่ไม่เจอกันมา 5 ปีละ) จบ ป.ตรี สาขา คณิตศาสตร์ ที่พม่า
ก็เป็นหนึ่งในกลุ่ม นักศึกษาที่ประท้วงนี่แหล่ะ แล้วหนีเข้าไทย มีงานอะไรทำก็ทำไป ล่าสุดที่เจอคือเป็นล่ามให้ รง.แถวบ้าน  


โชคดีที่ประเทศล้อมๆพม่ามีศักยภาพทั้งนั้นนอกจากลาว บังคลาเทศ ที่เหลือพม่าต้องเกรงใจทั้งนั้น ถ้าหนีเข้าลาวคงโดนเก็บหรืออุ้มละมั้ง

ดีที่มีไทยเป็นโล่ พม่าจะทำอะไรก็ต้องคิดหน้าคิดหลัง เพราะไม่งั้นเหมือนเหยียบจมูกไทยอีก

ถ้าไม่ประท้วงคงเป็นครูวิชาคณิตศาสตร์ได้สบายใจละ คนที่ท่านรู้จัก
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
นักเตะท้ายซอย
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 1034
ที่อยู่: แฟลต
โพสเมื่อ: Sat Aug 08, 2020 18:53
ครบรอบเหตุการณ์ 8888 ที่พม่า รอบ 32 ปี ที่ประท้วงกันถึงหลักล้านของ นศ.พม่า
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ว่าก็ว่าโครงสร้างที่มาของคนในสภาเมียร์มากับไทยเดินตามรอยเดียวกันแท้ ๆ
โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
ดาวซัลโวยุโรป
Status: Mes Que Un Club.
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 18 Mar 2010
ตอบ: 17238
ที่อยู่: Camp Nou , Barcelona
โพสเมื่อ: Sat Aug 08, 2020 20:18
ครบรอบเหตุการณ์ 8888 ที่พม่า รอบ 32 ปี ที่ประท้วงกันถึงหลักล้านของ นศ.พม่า
เป็นทหารแต่เจือกอยากบริหารประเทศ ทำไมไม่สมัครเป็นนักการเมืองไปเลย พอเข้ามาก็เปลี่ยนกฎบ้าๆบอๆเอื้อพวกพ้องอีก

จะเอาตำแหน่งไหนก็เอาสักทาง พอไม่รู้หน้าที่ตัวเองก็แบบนี้แหละ ถ่วงความเจริญ ตายไปไม่มีใครเชิดชูหรอก มีแต่คนเขาสมน้ำหน้า

ไอพวกเดียวกันก็ไม่ต่าง รู้ว่าผิด รู้ว่าไม่ดีก็ยังเข้าข้าง ปฏิญาณตนมั่งแหละ สาบานตนมั่งแหละ ถุ้ย ไม่เห็นจะต่างจากเสียงหมาตรงไหน
โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 20 Apr 2020
ตอบ: 830
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Aug 08, 2020 22:16
ถูกแบนแล้ว
[RE: ครบรอบเหตุการณ์ 8888 ที่พม่า รอบ 32 ปี ที่ประท้วงกันถึงหลักล้านของ นศ.พม่า]
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel