ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status: Silence makes us understand ourselves.
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 05 Dec 2016
ตอบ: 10382
ที่อยู่: thailand, Land of smile
โพสเมื่อ: Sat Dec 07, 2019 19:05
ไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน สมบัติชิ้นสำคัญที่ไม่ได้อยู่ไทย
สมุดภาพไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของประเทศ แต่มีชะตากรรมพลิกผันต้องไปอยู่ในความครอบครองของต่างชาติ แม้ว่าผู้ใหญ่ในไทยจะพยายามยื้อให้อยู่ในบ้านเราก็ไร้ผล อย่างไรก็ตาม เจ้าของใหม่ก็ดูแลอย่างดี เพราะเป็นของล้ำค่าของโลก ปัจจุบันได้ทำการถ่ายภาพลงฐานข้อมูลออนไลน์ของงานพิพิธภัณฑ์ประเทศเยอรมนี ส่วนของจริงจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมเอเชีย (Museum für Asiatische Kunst) ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

ตัวอย่าง







มีสาเหตุจากอันนี้

มีศิลปะวัตถุชิ้นหนึ่งงดงามเป็นที่เลื่องลือ แต่ค่อนข้างจะเป็นที่รู้จักกันในเฉพาะผู้สนใจศิลปะ/ประวัติศาสตร์ไทยนั่นคือสมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงธนบุรี สร้างขึ้นในสมัย "พระยาตาก" มีอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติเล่มหนึ่ง แต่น่าเสียดายว่าอีกเล่มหนึ่ง ตกอยู่ในมือคนชาติอื่น และออกจะสวยกว่าเล่มที่มีอยู่ในประเทศไทยด้วย (ในสายตาของผม)

ไตรภูมิเล่มนี้ถูกเรียกว่า ไตรภูมิฉบับเบอร์ลิน หรือ Berlin Manuscript

สาเหตุที่ไตรภูมิฉบับนี้พลัดบ้านพลัดเมืองไปอยู่ถึงเบอร์ลินนั้นเป็นเพราะ "ความห่วงใย" ของบรรดาฝรั่งที่กลัวว่าสมบัติของวัฒนธรรมไทยจะไปไม่รอดหากยังอยู่ในเมืองไทยต่อไป

คนที่เป็นต้นคิดเรื่องนี้คือพระสารสาสน์พลขันธ์ (Gerolamo Emilio Gerini) หรือ ยี.อี.เยรินี ชาวอิตาเลียนที่มารับราชการในสยาม เป็นอดีตเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกคนแรก และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมไทยอย่างหาตัวจับยาก

ท่านเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Chulakantamangala ว่าด้วยการทำโสกันต์ ราชพิธีที่ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งคงจะได้อ่านในภาษาไทยกันในอีกไม่นานเกินรอ

แต่ทำไมท่านเยรินีที่รักวัฒนธรรมไทยถึงขนาด จึงได้เป็นตัวตั้งตัวตีส่งสมบัติของชาติไทยออกไปให้ฝรั่งเยอรมันได้ครอบครอง?

คนที่สืบสาวเรื่องนี้คือ Barend Jan Terwiel ผู้เชี่ยวชาญในประวัติศาสตร์และสืบเรื่องไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรีมานาน ตีพิมพ์เรื่องนี้ในวารสารสยามสมาคมและวารสาร Manuscript Studies ซึ่งผมจะขอสรุปงานเขียนของท่านมาให้อ่านกัน

อาจารย์ Terwiel ได้พบจดหมายการติดต่อระหว่างอดอล์ฟ บาสเตียน (Adolf Bastian) นักมานุษยวิทยาชาวเยอรมันที่เดินทางมายังสยามสมัยรัชกาลที่ 4 และได้มีโอกาสได้ชมสมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรีที่เก็บไว้ในพระบรมมหาราชวัง หลังจากลับมาเยอรมนีแล้ว เขายังคิดถึงไตรภูมิเล่มนี้อยู่ไม่หาย เฝ้าส่งจดหมายถามถึงไปยังชาวต่างชาติในสยาม แต่ไม่มีใครตอบได้ เพราะสมุดเล่มนี้ไม่ได้อยู่ในวังหลวงแล้ว

จนกระทั่งในปี 1894 บาสเตียนก็ได้รับจดหมายจากท่านเยรินี ที่พบสมุดภาพไตรภูมิอีกฉบับหนึ่งซึ่งอยู่ในความครอบครองของทายาท "พระยาตาก" จดหมายเล่าว่า

"ไม่นานนักหลังจากได้รับจดหมาย ผมขอยืมไตรภูมิอันมีชื่อเสียงที่เคยเป็นของพระยาตากแล้วส่งหมายเตือนไปถึง ดร. ฮาสเซอ ให้มาตรวจดูจากนั้นส่งความเห็นของเขาไปยังคุณ ผมเชื่อว่าคุณได้รับจดหมายของเขาก่อนจดหมายของผมฉบับนี้ ผมอยากจะบอกว่า หลังจากตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว ผมขอแนะนำอย่างยิ่งให้ซื้องานชิ้นนี้ไปให้พิพิธภัณฑ์ของคุณ เพราะผมเชื่อผมหากไม่ทำในตอนนี้ที่โอกาสอำนวย ก็จะมีคนอื่นซื้อหนังสือไป

"แม้แต่หอสมุดของกษัตริย์ก็ไม่มีฉบับคัดลอกที่มีภาพประกอบงดงามเพียงนี้ และผมมั่นใจว่า หากกษัตริย์ทรงทราบเรื่องฉบับคัดลอกนี้ จะทรงริบไปในทันที เจ้าของคนปัจจุบันคือสตรีในวังซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระยาตาก และเก็บหนังสือไว้ในฐานะมรดกของตระกูล และไม่ยอมที่จะแยกจากมันไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม แต่ผมขอให้ญาติของเธอ ซึ่งผมมีสัมพันธ์สนิทสนมด้วย ช่วยเกลี้ยกล่อมให้เธอขาย โดยผมบอกว่าผมจะส่งมันไปยังพิพิธภัณฑ์ในยุโรปเพื่อเก็บรักษาไว้ที่นั่นตลอดกาล ในฐานะตัวอย่างงานวิจิตรศิลป์ของสยามตราบนานเท่านาน ...

"... เพราะผมสนใจอย่างยิ่งที่จะไม่ยอมปล่อยให้วัตถุหายากชิ้นนี้ไปอยู่ในมือคนสยาม (เพราะแน่นอนว่ามันจะต้องสูญหายหรือเสียหายสักวันหนึ่ง) ผมจึงตัดสินใจที่จะพาพิพิธัณฑ์ในยุโรปสักแห่งเพื่อที่จะซื้อมันโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะผมเกรงว่าเจ้าของอาจจะเปลี่ยนใจหรือมันมันก็อาจเปลี่ยนมือ"

อาจารย์ Terwiel ตั้งข้อสังเกตว่า จดหมายฉบับนี้เขียนขึ้น 8 เดือนหลังกรณีปากน้ำ ซึ่งฝรั่งเศสส่งเรือเข้ามาปิดปากน้ำเจ้าพระยาข่มขู่สยาม และชาวยุโรปหลายคนที่ทำงานในรัฐบาลสยามกังวลถึงอนาคตของประเทศนี้ และอาจเป็นเหตุให้ท่านเยรินีตัดสินใจเป็นนายหน้าขนย้ายสมบัติของชาติสยามออกไป เพื่อที่จะเก็บรักษาไว้ในที่ที่เหมาะสมตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ

สมุดภาพไตรภูมิเล่มนี้จึงถูกซื้อและขายให้หอสมุดเบอร์ลินในที่สุด (ต่อมาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมเอเชียในเบอร์ลิน) ด้วยราคาถึง 125 ปอนด์สเตอร์ลิง หรือ 2,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงมากในเวลานั้น

ในปี 1894 เงิน 125 ปอนด์สเตอร์ลิงจะมีราคาเท่ากับ 15,258 ปอนด์ในวันนี้ คิดเป็นเงินไทยทุกวันนี้ ราวๆ 593,700 บาท

ในปี 1937 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปที่เยอรมนีแล้วทรงตรวจดูสมุดภาพไตรภูมิเล่มนี้ ทรงวินิฉัยว่าเป็น "ฉบับรองทรง" หรือฉบับที่คัดลอกมาจากต้นฉบับที่เรียกว่า "ฉบับหลวง" แต่ท่ายเยรินีเห็นว่าฉบับนี้งามกว่าฉบับหลวง และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ยังทรงระบุพลาดว่ามีราคา 1,000 บาท (ซึ่งก็ยังนับว่าแพงมากอยู่ดี)

แต่ท่านเยรินีและชาวเยอรมัน รวมถึง Terwiel เชื่อว่า ฉบับที่เบอร์ลินต่างหากคือต้นฉบับจริง ส่วนฉบับที่กรุงเทพฯ เป็นของชั้นรองลงมา

เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปที่ปริศนา "สตรีในวัง" คนนั้นที่ขายสมบัติล้ำค่าของสยามไป

Terwiel สันนิษฐานว่า สตรีผู้นั้นต้องเป็นคนในตระกูล "ณ นคร" ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าตากสินมหาราช ไตรภูมิสมัยธนบุรีฉบับจริงจึงต้องตกอยู่กับคนในตระกูล ณ นคร ครั้นพอถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 19 คนในตระกูลทำฉบับคัดลอกขึ้นมาอีกเล่มหนึ่งโดยใช้ฉบับเบอร์ลินเป็นต้นแบบ ต่อมาทางตระกูลบริจาคฉบับคัดลอกให้หอพระสมุด

ส่วนอีกฉบับที่กรุงเทพฯ ที่เชื่อว่าเป็นฉบับหลวงนั้น เป็นของคัดลอก หรือที่ Terwiel บอกว่าปลอมขึ้นมาเพื่อให้เหมือนกับว่าเป็นต้นฉบับ (ซึ่งตอนนี้อยู่ที่เบอร์ลิน)

เพื่อป้องกันความสับสน ผมขอสรุปว่าตอนนี้เรามีฉบับเบอณ์ลิน ฉบับลอกจากฉบับเบอร์ลิน และฉบับปลอม 2 ฉบับหลังอยู่ในเมืองไทย

แต่ฉบับเบอร์ลินก็ยังไม่ใช่ต้นฉบับแรก เพราะยังมีอีกฉบับที่น่าจะแรกกว่า เป็นฉบับที่บาสเตียนได้เห็นในพระบรมมหาราชวังในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่ต่อมาสูญหายไป มาปรากฎตัวอีกครั้งในปี 1902 โดยตกอยู่ในความครอบครองของคุณท้าววรจันทร์ ซึ่งทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 5 เมื่อตั้งหอพุทธศาสนสังคหะ แม้ปกจะขาดไปแต่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ สันนิษฐานว่าน่าจะมีหน้าปกเป็นลายประดับมุกแสดงว่าเป็นของ "ฉบับหลวง"

แต่ฉบับนี้ที่คาดว่าเป็นมารดาของไตรภูมิธนบุรีทั้งปวงได้หายสาบสูญไปแล้ว

จากกรณีของไตรภูมิฉบับเบอร์ลิน เราจะเห็นว่าไม่เสมอไปที่ฝรั่งกว้านซื้อโบราณวัตถุจากไทยไปครอบครองเพื่อนำไปอวด แต่ยังมีเหตุผลเรื่องความไม่มั่นใจในศักยภาพของคนไทยที่จะรักษาของล้ำค่าด้วย ดังที่ท่านเยรินีบอกชัดว่าถ้ายังอยู่ในสยาม "มันจะต้องสูญหายหรือเสียหายสักวันหนึ่ง" แน่นอนว่า ผมไม่เห็นด้วยข้ออ้างเรื่องนี้ แต่มันมีมูลความจริงอยู่

นั้นคือฉบับหลวงที่หายสาบสูญไปแล้วนั่นเอง

อ้างอิง
Terwiel, Barend Jan. (2014). On the Trail of King Taksin’s Samutphāp Traiphūm. JSS. Vol 102 (2014).

Terwiel, Barend Jan. (2014). Cultural Goods and Flotsam: Early Thai Manuscripts in Germany and Those Who Collected Them. Manuscript Studies. Volume 2, Issue 1.

Kornkit Disthan

เครดิต William Lhue
10
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ

ออฟไลน์
แขวนสตั๊ด
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 15 Oct 2009
ตอบ: 66137
ที่อยู่: Juventus Stadium
โพสเมื่อ: Sat Dec 07, 2019 19:16
Top Comment [RE: ไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน สมบัติชิ้นสำคัญที่ไม่ได้อยู่ไทย]




ผมไม่ซีเรียสที่จะไปอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆทั่วโลก ขอแค่มีเผยแพร่ แล้วยิ่งอัพโหลดข้อมูลทางดิจิตอลยิ่งดี


ดีกว่าคือตกไปเป็นสมบัติส่วนตัวของคนรวยที่ซ่อนไว้ดูคนเดียว
ออฟไลน์
แขวนสตั๊ด
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 15 Oct 2009
ตอบ: 66137
ที่อยู่: Juventus Stadium
โพสเมื่อ: Sat Dec 07, 2019 19:16
[RE: ไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน สมบัติชิ้นสำคัญที่ไม่ได้อยู่ไทย]




ผมไม่ซีเรียสที่จะไปอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆทั่วโลก ขอแค่มีเผยแพร่ แล้วยิ่งอัพโหลดข้อมูลทางดิจิตอลยิ่งดี


ดีกว่าคือตกไปเป็นสมบัติส่วนตัวของคนรวยที่ซ่อนไว้ดูคนเดียว
ออฟไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status: ❤️❀janrybnk48❀❤️my january.
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 11958
ที่อยู่: Rivendell
โพสเมื่อ: Sat Dec 07, 2019 20:03
[RE: ไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน สมบัติชิ้นสำคัญที่ไม่ได้อยู่ไทย]
ลายมือคนสมัยนั้นสวยดีจริงๆ
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ก.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Apr 2010
ตอบ: 12175
ที่อยู่: โบ้เบ้ สะพานสาม
โพสเมื่อ: Sat Dec 07, 2019 20:03
[RE: ไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน สมบัติชิ้นสำคัญที่ไม่ได้อยู่ไทย]
สาธุ สาธุ สาธุ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
Xroom Fanclub

ออฟไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status: ในความอดทน คนหนึ่งคนจะมีเท่าไหร่
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 24 Jun 2019
ตอบ: 7147
ที่อยู่: ดินแดนยากหยั่งรู้
โพสเมื่อ: Sat Dec 07, 2019 20:07
[RE: ไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน สมบัติชิ้นสำคัญที่ไม่ได้อยู่ไทย]
ทั้งลายเส้นภาพวาด ลายมือนี่สุดยอดครับ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
แข้งดัทช์ลีก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 01 Sep 2017
ตอบ: 15619
ที่อยู่: รากมะม่วง
โพสเมื่อ: Sat Dec 07, 2019 20:34
[RE: ไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน สมบัติชิ้นสำคัญที่ไม่ได้อยู่ไทย]
การเขียนในสมัยกรุงธนบุรี​ถือว่าสวยและอ่านง่ายขึ้นเยอะ

แต่สมัยอยุธยา​เอาจริงๆผมอ่านแล้วยังงง
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status: COYS
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 05 Dec 2015
ตอบ: 31886
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Dec 07, 2019 23:36
[RE: ไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน สมบัติชิ้นสำคัญที่ไม่ได้อยู่ไทย]
เยอรมันกับอังกฤษนี่มีสมบัติสำคัญชาติอื่นอยู่เยอะเหมือนกันนะ ที่แน่ๆ ของอิรัคกับอียิปต์ก็น่าจะมีโคตรเยอะ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 10 Jan 2009
ตอบ: 548
ที่อยู่: ดาวสเปออสตินวิปปิกาสลอสยิปติกู๊ส
โพสเมื่อ: Sun Dec 08, 2019 11:11
[RE: ไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน สมบัติชิ้นสำคัญที่ไม่ได้อยู่ไทย]
ไม่ทราบเคยอ่านนิทานโบราณคดี ที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงเล่าเรื่องหนังสือฉบับหลวงว่าออกมานอกวังได้อย่างไรหรือยังครับ
อาจจะเอ๊ะบางเรื่องที่คุณเขียนไว้ก็ได้
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status: Silence makes us understand ourselves.
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 05 Dec 2016
ตอบ: 10382
ที่อยู่: thailand, Land of smile
โพสเมื่อ: Sun Dec 08, 2019 12:16
[RE: ไตรภูมิสมัยธนบุรี ฉบับกรุงเบอร์ลิน สมบัติชิ้นสำคัญที่ไม่ได้อยู่ไทย]
planaonaoplus พิมพ์ว่า:
ไม่ทราบเคยอ่านนิทานโบราณคดี ที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงเล่าเรื่องหนังสือฉบับหลวงว่าออกมานอกวังได้อย่างไรหรือยังครับ
อาจจะเอ๊ะบางเรื่องที่คุณเขียนไว้ก็ได้  

ขอบคุณนะครับ เจอที่ท่านว่าละครับ

หายไปตอนรื้อตึกหอหลวงกับตึกข้าราชการกรม ด้วยความที่ไม่มีบัญชีตรวจสอบ มีหนังสือจำนวนมาก จึงมีการแอบยักยอกหนังสือ

ปล.“หอหลวง” เป็นที่เก็บรักษาหนังสือซึ่งเป็นแบบฉบับตำรับตำราและจดหมายเหตุราชการบ้านเมือง มีในพระราชวังมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุทธยาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยจะอยู่ในความดูแลของกรมอาลักษณ์
ด้วยเหตุนี้อาจจะเรียกได้ว่าหนังสือสำคัญของแผ่นดินเกือบทั้งหมดถูกเก็บรักษาไว้ในที่นั้นก็ได้
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel