ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
นักเตะเทศบาล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 19 Oct 2009
ตอบ: 108
ที่อยู่: The Bridge
โพสเมื่อ: Wed Jul 17, 2019 21:20
แพทย์ข้างสนามสิ่งสำคัญยามฉุกเฉิน
แพทย์ข้างสนามสิ่งสำคัญยามฉุกเฉิน
ขึ้นชื่อว่ากีฬาแน่นอนว่าเป็นการแข่งขันที่มีผลแพ้ เสมอ ชนะ ทำให้มันมีมนต์สเน่ห์ในตัวมันเองที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกชื่นชอบและหนึ่งในกีฬาที่นิยมอย่างฟุตบอลก็ไม่ต่างจากกีฬาอื่นๆคือมันมี แพ้ เสมอ ชนะ ดังนั้นผู้เล่นทุกคนที่ได้ลงแข่งขันนั้นทุ่มเทเต็มที่เพื่อจะได้มาเพื่อชัยชนะ



ทั้งนี้ทั้งนั้นความทุ่มเทหรืออารมณ์ร่วมในเกมอาจทำให้เกิดการปะทะ ผิดจังหวะ หรืออะไรก็ตามแต่ที่สามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ ถึงนาทีนั้นเราที่รับชมอยู่หน้าจอโทรทัศน์ก็จะเห็นคนแบกกระเป๋าสองสามคน วิ่งอย่างสุดฝีเท้าไปหาผู้บาดเจ็บ พวกเขาเหล่านั้นคือแพทย์สนามนั่นเอง

เคยไหมครับที่ลุ้นใจจะขาดเวลาทดเวลาบาดเจ็บแม้ว่าจะเป็นเวลาไม่กี่นาทีก็ตามเพราะมันเป็นอะไรที่พลาดไม่ได้ที่มาของเวลานี้คือช่วงเวลาที่เสียไปในการปฐมพยาบาลผู้เล่นระหว่างการแข่งขันนั่นเองในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันครับว่าการแพทย์ในด้านกีฬาฟุตบอลมีความสำคัญอย่างไร

ตัวอย่างที่สามารถยกมาพูดแล้วทำให้ผู้คนเห็นถึงความสำคัญของการแพทย์ได้อย่างชัดเจนที่สุดคงหนีไม่พ้นการบาดเจ็บรุนแรงของปีเตอร์ เช็ค ผู้รักษาประตูของเชลซีในปี 2006 ซึ่งถูกเข่าของ สตีเฟ่น ฮั้น วิ่งกวดลูกฟุตบอลแต่โชคร้ายไปกระแทกศีรษะเช็คเข้าอย่างจัง



ด้วยความเร็วที่วิ่งเข้าใส่ทำให้เกิดเป็นความรุนแรงอย่างไม่คาดคิดนายด่านของเชลซีในตอนนั้นแทบจะไม่รู้สึกตัวในไม่กี่วินาทีหลังจากนั้นภาพที่เห็นคือทีมแพทย์กรูเขามาในสนามอย่างรวดเร็วตัวคนเจ็บเองท่ามกลางความเจ็บปวดและสับสนแต่เขายังคลานออกมานอกเส้นสนามเพื่อให้ทีมแพทย์ประเมินอาการ

เจ้าหน้าที่ทำการประเมินอาการการรับรู้ทุกคนรู้ได้ในทันทีว่าเช็คต้องได้รับการส่งต่อไปที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดในภาษาอังกฤษใช้คำอธิบายอาการของเขาว่า Life or Die หรือแปลเป็นไทยบ้านเราก็คือเป็นตายเท่ากันทีมเปลรีบเคลื่อนย้ายเช็คเข้าไปรอรถพยาบาลด้านในห้องแต่งตัวอย่างไม่รอช้า

และเหตุการณ์ต่อจากนี้แหละครับที่จะทำให้ สมาคมฟุตบอลตัดสินใจให้ความสำคัญแก่การแพทย์และความปลอดภัยของนักกีฬามากขึ้น เรียกได้ว่าเหตุการณ์บาดเจ็บรุนแรงของเช็คครั้งนี้ได้สร้างความปลอดภัยให้กับนักฟุตบอลร่วมอาชีพคนอื่นๆอีกหลายชีวิตในเวลาต่อมา

เพราะเหตุใดสมาคมฟุตบอลถึงต้องมารื้อระบบการแพทย์ระหว่างการแข่งขันใหม่?

คำตอบคือเหตุการณ์หลังจากที่ทีมเคลื่อนย้ายนำเช็คไปห้องแต่งตัวทีมแพทย์ประเมินแล้วว่าเขาต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนจำเป็นต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาลให้ได้รวดเร็วที่สุดแต่ไม่น่าเชื่อว่าการแข่งขันระดับมืออาชีพอย่างพรีเมียร์ ลีค ไม่มีรถพยาบาล(ambulance)ประจำอยู่ที่สนามเตรียมพร้อมเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินแบบนี้เกิดขึ้น ทำให้ต้องรอรถพยาบาลในห้องแต่งตัวนานถึง30นาที รถพยาบาลมาถึงก็ดันไม่มีทางสำหรับขนส่งนักเตะบาดเจ็บโดยเฉพาะทำให้ต้องนำเช็คใส่วีลแชร์เข็นมาขึ้นรถอย่างทุลักทุเล สำหรับผมที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ได้มาอ่านเรื่องราวพวกนี้ยอมรับว่าขนลุกเกรียวเพราะมันมีความเสี่ยงมากๆที่เขาจะเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล

“ถ้าหากผู้รักษาประตูของผมเสียชีวิตในห้องแต่งตัวสมาคมฟุตบอลอังกฤษมีบางอย่างต้องคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้”

โจเซ่ มูริญโญ่กุนซือเชลซีในตอนนั้น ให้สัมภาษณ์ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเกรี้ยวกราด
หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นพรีเมียร์ลีคได้ตั้งมาตรฐานใหม่คือทุกสนามต้องมีรถพยาบาลประจำเผื่อมีเหตุฉุกเฉินต้องส่งต่อและมีทางสำหรับทีมแพทย์โดยเฉพาะเพื่อความปลอดภัยของผู้บาดเจ็บ

ที่เกริ่นมายาวๆข้างต้นนั้นเพื่อให้ได้เห็นว่าแพทย์สนามนั้นไม่ใช่เพียงแค่ดูนักเตะบาดเจ็บในสนามเท่านั้นแต่ยังรวมถึงการประเมินอาการและส่งต่อผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมเมื่อมีความจำเป็นและช่วยเหลือนักเตะให้รอดพ้นจากความสูญเสียให้ได้มากที่สุด ดังนั้นในบทความนี้ผมจะเล่าให้ฟังว่าแพทย์สนามทำงานอย่างไรอย่างเข้าใจง่ายๆสไตล์บ้านๆคุยกัน



เข้าเรื่องของการบาดเจ็บของกีฬาฟุตบอลและบทบาทของแพทย์สนาม ในตำราภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ในกีฬาฟุตบอลที่สำคัญแบ่งเป็น2ประเภทใหญ่ๆคือ
1).บาดเจ็บทางกายจากอุบัติเหตุเช่น ขาหัก ตะคริว ศีรษะแตก เป็นต้น
2).อาการป่วยรุนแรงต่างๆเช่น หัวใจหยุดเต้น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หอบหืด เป็นต้น
กล่าวคือแบ่งเป็น บาดเจ็บ กับ ป่วย นั่นเอง

แต่ที่เราเห็นได้ตามการแข่งขันแทบทุกนัดนั่นคือการบาดเจ็บไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือมากถือว่าเป็นเรื่องที่คู่กับกีฬาอย่างเลี่ยงไม่ได้แต่สำหรับการป่วยนั้นนานๆพวกเราที่รับชมจะได้เห็นสักทีหนึ่งแต่มันมักจะรุนแรงเช่นภาวะหัวใจหยุดเต้นของ เฟดริก มูอัมบ้า ที่ต้องปั้มหัวใจนำส่งโรงพยาบาลกันอย่างเร่งด่วน

แต่ทุกสิ่งอย่างจะต้องถูกประเมินโดยแพทย์สนามเสียก่อนที่เราเห็นกันบ่อยๆคือคนที่วิ่งแบกกระเป๋าเข้าไปดูผู้ป่วยนั่นเอง เขาประเมินอย่างไร ?

1.“ความรู้สึกตัว” แน่นอนครับคนเราต่อให้บาดเจ็บแข้งขาหัก ปากแตก หัวแตก ปวดเอว ฉี่ขัด หรืออะไรทั้งหลายแต่ถ้าผู้คนเหล่านั้นยังรู้ตัวดี ถาม-ตอบได้ ในการประเมินเบื้องต้นถือว่าผู้บาดเจ็บคนนั้นสมองปลอดภัยไปแล้วระดับหนึ่งเพราะเหตุนี้เรามักจะเห็นทีมแพทย์สนามลงไปพูดคุยกับนักเตะที่นอนเจ็บอยู่เพื่อประเมินระดับความรู้สึกตัวนั่นเอง
2.“ความสามารถในการเคลื่อนไหว”ถ้ายังรู้สึกตัวดีทีมแพทย์จะมาประเมินต่อว่านักเตะสามารถลงแข่งขันต่อไปได้หรือไม่นั่นคือการเคลื่อนไหว ยกตัวอย่างเช่น ซาลาห์ ในนัดชิงยูฟ่า แชมป์เปี้ยนลีค เจ้าตัวเจ็บใหล่แท้ๆแต่หลังจากได้รับการประเมินแล้วก็จำเป็นต้องออกจากการแข่งขันเนื่องจากไหล่หลุดไม่สามารถเล่นต่อไปได้เพื่อความปลอดภัยของตัวนักเตะเอง

“ในกรณีที่นักเตะเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นให้เริ่มการกดหน้าอก(CPR)โดยทันทีและใช้อุปกรณ์กระตุกหัวใจชนิดอัตโนมัติและส่งต่อไปยังโรงพยาบาลทันทีเพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของนักเตะ”

ไม่ว่าในกรณีที่ได้กล่าวมาข้างต้นแพทย์ประเมินแล้วว่าต้องส่งต่อก็จะมีทีมที่ประจำสนามอยู่แล้วนั่นคือ
1.แพทย์เฉพาะทางฉุกเฉิน 1 คน
2.พยาบาลเฉพาะทางฉุกเฉินหรือดูแลผู้ป่วยวิกฤติ 1 คน
3.พาราเมดิก (นักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์) 1 คน
4.ทีมงานที่สามารถพูดภาษาอังกฤษทางการแพทย์ได้อย่างเชี่ยวชาญ 1คน (ประมาณว่าทีมงานแพทย์ต้องมีการสื่อสารที่เข้าใจมากที่สุดจึงจำเป็นต้องมีตำแหน่งนี้หรือสามารถเป็นล่ามได้นั่นเอง)
**และทุกคนในทีมต้องผ่านการอบรมการช่วยเหลือชีวิตชั้นสูงแล้วทุกคน**
พร้อมรถพยาบาลที่พร้อมส่งต่อและทีมแพทย์ที่ได้กล่าวมาข้างต้นทำให้นักเตะมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นตั้งแต่สนามจนถึงโรงพยาบาล

ที่กล่าวมาเป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานเท่านั้นนะครับยังเหลือรายละเอียดยิบย่อยอีกมากสำหรับการแพทย์ในฟุตบอลแต่มันค่อนข้างลึกเกินไปจะทำให้ผู้อ่านงงและไม่เข้าใจได้ดังนั้นผมจึงอธิบายไว้พอสังเขปเพื่อที่จะเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆสำหรับผู้อ่านทุกท่านพอได้ทราบว่าที่เราเห็นบ่อยๆเขามีหลักการอย่างไรและที่ทำไปเขามีเหตุผลอย่างไรนั่นเองครับ

การบาดเจ็บในการแข่งขันมักเกิดจากอุบัติเหตุซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถรับรู้ได้ล่วงหน้าได้ แต่ถ้ามีแบบแผนการรับมือที่ดีเราสามารถลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุนั้นได้มากขึ้นครับ


bank terry

ฝากเพจเจรจาภาษาบอล https://www.facebook.com/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5-892038647645832/


โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออนไลน์
ดาวซัลโวยุโรป
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 12 Aug 2016
ตอบ: 21573
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed Jul 17, 2019 22:13
[RE: แพทย์ข้างสนามสิ่งสำคัญยามฉุกเฉิน]
แพทย์สนามนี่ได้ตังค์เป็นพาทไทม์ป่าว? เตะเสร็จไปรักษาคนไข้ทั่วไปที่โรงพยาบาล
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ข.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 13 Feb 2007
ตอบ: 1163
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Thu Jul 18, 2019 08:38
[RE]แพทย์ข้างสนามสิ่งสำคัญยามฉุกเฉิน
Hell_Yeah พิมพ์ว่า:
แพทย์สนามนี่ได้ตังค์เป็นพาทไทม์ป่าว? เตะเสร็จไปรักษาคนไข้ทั่วไปที่โรงพยาบาล  

ถ้าประจำทีมใหญ่ๆ คงไม่ได้ตรวจข้างนอก
ถ้าประจำทีม อบต ก็คงแวะมาเป็นระยะๆ
โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
แข้งบุนเดสลีกา
Status: * KingCanto * GodZlatan - KnightRooney
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 12786
ที่อยู่: Theatre of Dream
โพสเมื่อ: Thu Jul 18, 2019 08:39
[RE: แพทย์ข้างสนามสิ่งสำคัญยามฉุกเฉิน]
เคส เชลซี กับ อาเซนอล มีอยู่แมตนึง

ที่ใครไม่รู้หวดเต็มข้อเข้าปลายคาง เทอร์รี่ อะ

พี่แกหลับกลางอากาศเลย ลิ้นจุกปากด้วย อย่างหลอนอะ

โชคดีมากที่ แพทย์อาร์เซนอล ปฐมพยาบาลใครไม่รู้อยู่แถวนั้นพอดี
(ซึ่งแกเป็นแพทย์ประจำทีมชาติอังกฤษด้วย)

เลยเข้ามาช่วยทัน
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
#ThankyouSirAlex
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel