ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ง.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 12 Aug 2017
ตอบ: 3346
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 10:15
เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน
-อยากทราบว่าเศรษฐกิจช่วง4-5ปีหลัง นี่เป็นยังไงบ้างหรอครับ ในอนาคตข้างหน้ามีแนวโน้มไปในทางไหนบ้าง
-พวกค่าที่เขาใช้เป็นตัววัดต่างๆนี่มากหรือน้อยยังไงบ้างครับ เช่นพวก GDP อะไรทำนองนี้
-แล้วถ้าเปรียบเทียบกับประเทศไทยช่วงก่อนหน้านี้เป็นยังไงบ้างครับ
-เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านตอนนี้เราดีหรือด้อยกว่าเยอะมั้ยครับ
โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออฟไลน์
นักเตะเทศบาล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 30 Oct 2014
ตอบ: 2798
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 10:28
Top Comment [RE]เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน


ประมาณการ ณ วันที่ 19 พ.ย. 2561 GDP มีมูลค่า 16.3 ล้านล้านบาท

คิดเป็นรายได้ต่อหัวก็ตกอยู่ที่ 241,027 บาท ต่อปี หรือ ตกเดือนละประมาณ 20,085 บาท

แต่อย่างที่เราทราบกันว่ามีผู้มีรายได้น้อย 14 ล้านคน ที่มีรายได้ไม่ถึง 100,000 บาทต่อปี (เดือนละ 8,300 บาท)

นั่นแปลว่า เราก็ยังมีปัญหาการกระจายรายได้แบบ “รวยกระจุก จนกระจาย” อยู่ดี

ปี 2558 GDP 3%
ปี 2559 GDP 3.3%
ปี 2560 GDP 3.9%
Q1’2561 GDP 4.9%
Q2’2561 GDP 4.6%
Q3’2561 GDP 3.3%

เรากลับไปเห็นเลข 3 กันอีกครั้ง ซึ่งเท่ากับเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 7 ไตรมาส

ถ้าจะให้สรุปถึงสาเหตุแบบสั้น ๆ คือ ส่งออกเป็นตัวฉุดจากเศรษฐกิจหลายประเทศเริ่มชะลอ ผลกระทบจากสงครามการค้า คนจีนมาเที่ยวลดลง ขณะที่ตัว C โตขึ้นต่อเนื่องจากรถยนต์ ตัว I โตจากก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีใน EEC มากขึ้น ทีนี้เรามาดูรายละเอียดทีละตัวกันจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นครับ

Consumption (49% ของ GDP) เติบโต 5%

• ดีต่อเนื่องขยายตัวสูดสุดรอบ 22 ไตรมาส ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 3.2% >> 3.7% >> 4.5% >> 5%

• สินค้าคงทน +16.7% (คือของที่ใช้แล้วทน ไม่พังง่าย) โดยยอดขายรถยนต์นั่ง +27% ยังโตต่อเนื่องหลังจากหมดรถคันแรกมา 5 ปี คนก็เริ่มเปลี่ยนรถกันใหม่ (เป็นหนี้ใหม่นั่นเอง) >> ดัชนีตัวนี้บอกได้ว่าคนฐานะปานกลางถึงรวยมีการใช้จ่ายกันเยอะ

• สินค้าไม่คงทนทรงตัว (สินค้าอุปโภคบริโภค ของกินของใช้) แปลว่า คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช้จ่าย แต่ข่าวดีคือ กินเหล้า สูบบุหรี่กันลดลง ไปเพิ่มกันที่แป้ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เยอะขึ้น

• สาเหตุที่ของกินของใช้ไม่เพิ่มเพราะว่ารายได้เกษตรกรไม่ได้เพิ่มเยอะ +1.1% ค่าจ้างแรงงาน +1.8% และหนี้ครัวเรือนยังสูงอยู่ที่ 77.5% ของ GDP ถึงแม้ว่าจะมีคนรายได้น้อยได้เงินธงฟ้ามาช่วยแล้วก็ตาม

• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 69.6% สูงสุดในรอบ 15 ไตรมาส

สรุป ตัว C เติบโตจริงจากคนเปลี่ยนรถยนต์กัน แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่ได้มีเงินเพิ่มในกระเป๋าเท่าไหร่ หาได้มาก็ใช้หนี้ก่อน แล้วค่อยมาซื้อของกินของใช้ คือ ถ้าไม่รีบหาทางเพิ่มรายได้กับคนส่วนมาก (แบบยั่งยืนนะ ไม่ใช่แค่แจกเงิน) แล้วยอดขายรถยนต์เริ่มแผ่วเมื่อไหร่ เครื่องจักรตัวนี้ก็อาจจะมีปัญหาในอนาคตได้

Private Investment (23% ของ GDP) เติบโต 3.9%

• โตต่อเนื่องขยายตัวสูดสุดรอบ 15 ไตรมาส ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 1.7% >> 3.1% >> 3.2% >> 3.9%

• อัตราการใช้กำลังการผลิตก็ดูดีอยู่ จากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 67% >> 72% >> 66% >> 66.5%

• พระเอก คือ การก่อสร้าง +5.4% โดยเฉพาะพวกคอนโดสูงเกิน 16 ชั้น โรงงานอุตสาหกรรม (เห็นการขออนุญาตในแถบ EEC มากขึ้น) แต่ว่าตึกแถวอาคารพาณิชย์ลดลง

• เครื่องมือเครื่องจักร +3.4% ก็โตดีอยู่ตามกำลังการผลิตที่ดูมีแนวโน้มดีขึ้น และโตที่หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ตามการบริโภคเลย

• ดัชนึความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 51.6% โตขึ้น

สรุป ตัว I ดี สอดคล้องกับการบริโภค และเริ่มเห็นการก่อสร้างเติบโตเรื่อยๆ EEC เริ่มมา ถ้านโยบายขยายการลงทุนของภาครัฐเพิ่มเติม ก็น่าจะเป็นตัวเร่งให้เครื่องจักรตัวนี้ทำงานได้ดีขึ้น

Government (16% ของ GDP)

• การใช้จ่ายภาครัฐเรียกว่าค่อย ๆ เพิ่มทีละนิดดีกว่า ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 0.5% >> 1.9% >> 2.0 >> 2.1% มาจากที่ช่วงหลัง ๆ เริ่มเบิกจ่ายงบประมาณได้ดีขึ้น แรก ๆ กลัวทำผิด พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างกัน

• การลงทุนภาครัฐ ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ -1.2% >> 4% >> 4.9 >> 4.2% เติบโตจากการลงทุนภาครัฐวิสาหกิจต่อเนื่อง

สรุป ตัว G ค่อย ๆ มา ถ้าเร่งให้มีการเบิกจ่ายเร็วขึ้น และมีการลงทุนมากขึ้นก็น่าจะส่งผลดีกับการลงทุนภาคเอกชนตามมา

Export (67% ของ GDP) +2.6%

• ถ้าดูในรูปแบบ USD จากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 9.8% >> 9.9% >> 12.3% >> 2.6%

• แต่ถ้ามาดูในรูปของเงินบาท -0.1% สาเหตุหลักมาจาก 3 เรื่อง คือ คู่ค่าต่างประเทศเศรษฐกิจชะลอ Trade War และคนจีนมาเที่ยวไทยลดลง

• ประเทศคู่ค้าเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน ทั้งจีน ยุโรป อาเซียน (ประเทศที่โตดีคือ อเมริกา และเวียดนาม)

• สินค้าส่งออกที่ขยายตัว คือ รถกระบะ รถบรรทุก ปิโตรเลียม ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มันสำปะหลัง ข้าว (แต่ระวังว่า ข้าว ได้จากประมูลที่ฟิลิปปินส์เพิ่มมา)

• สินค้าส่งออกที่หดตัว คือ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า กุ้ง แผงวงจร ยางพารา (สต็อคยางที่จีนสูง ส่วนแผงวงจรคือผลกระทบจาก Trade War)

นักท่องเที่ยวต่างประเทศ +1.9%

• จำนวนนักท่องเที่ยวจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 9.4% >> 15.5% >> 8.4% >> 1.9%

• รายรับนักท่องเที่ยวจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 12.1% >> 18.9% >> 13.7% >> 0.5%

• อัตราการเข้าพัก 65.4% ลดลงจาก Q2 ที่ 71.4% แต่มากกว่า Q3’60 ที่ 63.7%

• นักท่องเที่ยวจีนลดลงจากเรือล่ม และเงินหยวนอ่อนค่า (-8.8%) นักท่องเที่ยวรัสเซียลดลงจากบอลโลก (-7.2%) แต่ได้อาเซียน โดยเฉพาะมาเลเซียเพิ่มขึ้น (+26.3%) แต่ในแง่รายได้คนจีนใช้จ่าย 55,000 บาทต่อทริป ขณะที่นักท่องเที่ยวอาเซียนใช้อยู่ 31,000 บาทต่อทริป เลยชดเชยกันไม่พอ

Import (56% ของ GDP) เติบโต 17%

• ในรูปแบบ USD จากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 14.4% >> 16.3% >> 16.8% >> 17%

• นำเข้าทองคำสูงสุดในรอบ 5 ปี และนำเข้าเชื้อเพลิง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

สรุปตัว X-M ชะลอตัวอย่างมากทั้งในแง่ของตัวสินค้าส่งออกเองจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า Trade War และการท่องเที่ยวที่มากระทบหนักในช่วง Q3 ต้องติดตามว่า Q4 จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาได้ไหม

สรุปภาพรวม GDP

ที่ผ่านมาเราพึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมาก รอบนี้มาสะดุดลง แล้วยังไปโดนเรื่องการท่องเที่ยวมาซ้ำเติมอีก แต่ยังดีที่ได้การบริโภคเอกชน กับการลงทุนโตมาพอดี แต่ก็ยังไม่เร็วพอ

ที่สำคัญยังไปกระจุกตัวกับสินค้าคงทนอย่างรถยนต์ มากกว่าที่จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีในระยะยาว เพราะไม่ได้ทำให้เกิดการจ้างงานเป็นวงกว้าง รายได้ของคนในประเทศก็จะไม่เพิ่มอย่างทั่วถึง สุดท้ายอาจจะต้องมาพึ่งการใช้จ่ายภาครัฐบาลให้มากกว่านี้และกระจายเป็นวงกว้างเพื่อให้ GDP กลับมาโตแบบสมดุลและยั่งยืน

ที่มา https://www.facebook.com/stock.vitamins
ขอโทษที่ยาวไปนะครับ

แต่ส่วนตัวมองว่าการจับจ่ายในระดับชุมชนลดลงเนื่องจากการที่ผู้จับจ่ายหันไปใช้บริการในส่วนออนไลน์หรือจับจ่ายในระดับห้างสรรพสินค้า เช่น แมคโคร โลตัส ซึ่งได้ความสะดวกและบริการที่ดีราคามาตรฐาน ทำให้เม็ดเงินส่วนนี้หายจากตลาดระดับชุมชนไปเยอะ เหมือนยกตัวอย่างตัวผมเองทำธุรกิจด้านบริการ ต้องมีการจับจ่ายของสดและของใช้ ส่วนมากก็เลือกใช้แมคโครแทนที่จะเป็นตลาด เนื่องจากมีความสะอาด สะดวก มีบริการด้านต่างๆมากกว่า ได้ของครบในที่เดียว แต่บางอย่างก็ยังใช้บริการตลาดอยู่แต่น้อยลงมากครับ

ที่บอกว่าขายของออนไลน์มันโต จากปี 59 ยอดการชำระผ่านบัตรเดบิตอย่างเดียว 3.4 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นเป็น 16.5 ล้านรายการ หรือตกวันละ 4.5 หมื่นรายการ หรือปีเดียวโต 389%

อันนี้เราพูดถึงจำนวนครั้งที่มีการชำระเงินนะ โดยที่ยังไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณสินค้า หรือปริมาณมูลค่า และทั้งนี้ย้ำด้วยว่าพูดถึงเฉพาะการชำระด้วยบัตรเดบิตอย่งเดียว ไม่รวมอินเตอร์เน็ตแบงกิ้งหรือการชำระเงินหน้าเคาน์เตอร์

โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
แก้ไขล่าสุดโดย Burmlotelli เมื่อ Mon Feb 18, 2019 10:39, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ออฟไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status: ห นู น ย ม ทู ต
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 03 Sep 2018
ตอบ: 15283
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 10:27
[RE: เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน]
GDP โตขึ้นครับ โตขึ้นสูงสุดในรอบ 6 ปี ตัวเลขถือว่าน่าพอใจ

1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
The Journey of new beginnings.
ออฟไลน์
นักเตะเทศบาล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 30 Oct 2014
ตอบ: 2798
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 10:28
[RE]เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน


ประมาณการ ณ วันที่ 19 พ.ย. 2561 GDP มีมูลค่า 16.3 ล้านล้านบาท

คิดเป็นรายได้ต่อหัวก็ตกอยู่ที่ 241,027 บาท ต่อปี หรือ ตกเดือนละประมาณ 20,085 บาท

แต่อย่างที่เราทราบกันว่ามีผู้มีรายได้น้อย 14 ล้านคน ที่มีรายได้ไม่ถึง 100,000 บาทต่อปี (เดือนละ 8,300 บาท)

นั่นแปลว่า เราก็ยังมีปัญหาการกระจายรายได้แบบ “รวยกระจุก จนกระจาย” อยู่ดี

ปี 2558 GDP 3%
ปี 2559 GDP 3.3%
ปี 2560 GDP 3.9%
Q1’2561 GDP 4.9%
Q2’2561 GDP 4.6%
Q3’2561 GDP 3.3%

เรากลับไปเห็นเลข 3 กันอีกครั้ง ซึ่งเท่ากับเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 7 ไตรมาส

ถ้าจะให้สรุปถึงสาเหตุแบบสั้น ๆ คือ ส่งออกเป็นตัวฉุดจากเศรษฐกิจหลายประเทศเริ่มชะลอ ผลกระทบจากสงครามการค้า คนจีนมาเที่ยวลดลง ขณะที่ตัว C โตขึ้นต่อเนื่องจากรถยนต์ ตัว I โตจากก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีใน EEC มากขึ้น ทีนี้เรามาดูรายละเอียดทีละตัวกันจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นครับ

Consumption (49% ของ GDP) เติบโต 5%

• ดีต่อเนื่องขยายตัวสูดสุดรอบ 22 ไตรมาส ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 3.2% >> 3.7% >> 4.5% >> 5%

• สินค้าคงทน +16.7% (คือของที่ใช้แล้วทน ไม่พังง่าย) โดยยอดขายรถยนต์นั่ง +27% ยังโตต่อเนื่องหลังจากหมดรถคันแรกมา 5 ปี คนก็เริ่มเปลี่ยนรถกันใหม่ (เป็นหนี้ใหม่นั่นเอง) >> ดัชนีตัวนี้บอกได้ว่าคนฐานะปานกลางถึงรวยมีการใช้จ่ายกันเยอะ

• สินค้าไม่คงทนทรงตัว (สินค้าอุปโภคบริโภค ของกินของใช้) แปลว่า คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช้จ่าย แต่ข่าวดีคือ กินเหล้า สูบบุหรี่กันลดลง ไปเพิ่มกันที่แป้ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เยอะขึ้น

• สาเหตุที่ของกินของใช้ไม่เพิ่มเพราะว่ารายได้เกษตรกรไม่ได้เพิ่มเยอะ +1.1% ค่าจ้างแรงงาน +1.8% และหนี้ครัวเรือนยังสูงอยู่ที่ 77.5% ของ GDP ถึงแม้ว่าจะมีคนรายได้น้อยได้เงินธงฟ้ามาช่วยแล้วก็ตาม

• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 69.6% สูงสุดในรอบ 15 ไตรมาส

สรุป ตัว C เติบโตจริงจากคนเปลี่ยนรถยนต์กัน แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่ได้มีเงินเพิ่มในกระเป๋าเท่าไหร่ หาได้มาก็ใช้หนี้ก่อน แล้วค่อยมาซื้อของกินของใช้ คือ ถ้าไม่รีบหาทางเพิ่มรายได้กับคนส่วนมาก (แบบยั่งยืนนะ ไม่ใช่แค่แจกเงิน) แล้วยอดขายรถยนต์เริ่มแผ่วเมื่อไหร่ เครื่องจักรตัวนี้ก็อาจจะมีปัญหาในอนาคตได้

Private Investment (23% ของ GDP) เติบโต 3.9%

• โตต่อเนื่องขยายตัวสูดสุดรอบ 15 ไตรมาส ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 1.7% >> 3.1% >> 3.2% >> 3.9%

• อัตราการใช้กำลังการผลิตก็ดูดีอยู่ จากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 67% >> 72% >> 66% >> 66.5%

• พระเอก คือ การก่อสร้าง +5.4% โดยเฉพาะพวกคอนโดสูงเกิน 16 ชั้น โรงงานอุตสาหกรรม (เห็นการขออนุญาตในแถบ EEC มากขึ้น) แต่ว่าตึกแถวอาคารพาณิชย์ลดลง

• เครื่องมือเครื่องจักร +3.4% ก็โตดีอยู่ตามกำลังการผลิตที่ดูมีแนวโน้มดีขึ้น และโตที่หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ตามการบริโภคเลย

• ดัชนึความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 51.6% โตขึ้น

สรุป ตัว I ดี สอดคล้องกับการบริโภค และเริ่มเห็นการก่อสร้างเติบโตเรื่อยๆ EEC เริ่มมา ถ้านโยบายขยายการลงทุนของภาครัฐเพิ่มเติม ก็น่าจะเป็นตัวเร่งให้เครื่องจักรตัวนี้ทำงานได้ดีขึ้น

Government (16% ของ GDP)

• การใช้จ่ายภาครัฐเรียกว่าค่อย ๆ เพิ่มทีละนิดดีกว่า ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 0.5% >> 1.9% >> 2.0 >> 2.1% มาจากที่ช่วงหลัง ๆ เริ่มเบิกจ่ายงบประมาณได้ดีขึ้น แรก ๆ กลัวทำผิด พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างกัน

• การลงทุนภาครัฐ ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ -1.2% >> 4% >> 4.9 >> 4.2% เติบโตจากการลงทุนภาครัฐวิสาหกิจต่อเนื่อง

สรุป ตัว G ค่อย ๆ มา ถ้าเร่งให้มีการเบิกจ่ายเร็วขึ้น และมีการลงทุนมากขึ้นก็น่าจะส่งผลดีกับการลงทุนภาคเอกชนตามมา

Export (67% ของ GDP) +2.6%

• ถ้าดูในรูปแบบ USD จากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 9.8% >> 9.9% >> 12.3% >> 2.6%

• แต่ถ้ามาดูในรูปของเงินบาท -0.1% สาเหตุหลักมาจาก 3 เรื่อง คือ คู่ค่าต่างประเทศเศรษฐกิจชะลอ Trade War และคนจีนมาเที่ยวไทยลดลง

• ประเทศคู่ค้าเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน ทั้งจีน ยุโรป อาเซียน (ประเทศที่โตดีคือ อเมริกา และเวียดนาม)

• สินค้าส่งออกที่ขยายตัว คือ รถกระบะ รถบรรทุก ปิโตรเลียม ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มันสำปะหลัง ข้าว (แต่ระวังว่า ข้าว ได้จากประมูลที่ฟิลิปปินส์เพิ่มมา)

• สินค้าส่งออกที่หดตัว คือ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า กุ้ง แผงวงจร ยางพารา (สต็อคยางที่จีนสูง ส่วนแผงวงจรคือผลกระทบจาก Trade War)

นักท่องเที่ยวต่างประเทศ +1.9%

• จำนวนนักท่องเที่ยวจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 9.4% >> 15.5% >> 8.4% >> 1.9%

• รายรับนักท่องเที่ยวจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 12.1% >> 18.9% >> 13.7% >> 0.5%

• อัตราการเข้าพัก 65.4% ลดลงจาก Q2 ที่ 71.4% แต่มากกว่า Q3’60 ที่ 63.7%

• นักท่องเที่ยวจีนลดลงจากเรือล่ม และเงินหยวนอ่อนค่า (-8.8%) นักท่องเที่ยวรัสเซียลดลงจากบอลโลก (-7.2%) แต่ได้อาเซียน โดยเฉพาะมาเลเซียเพิ่มขึ้น (+26.3%) แต่ในแง่รายได้คนจีนใช้จ่าย 55,000 บาทต่อทริป ขณะที่นักท่องเที่ยวอาเซียนใช้อยู่ 31,000 บาทต่อทริป เลยชดเชยกันไม่พอ

Import (56% ของ GDP) เติบโต 17%

• ในรูปแบบ USD จากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 14.4% >> 16.3% >> 16.8% >> 17%

• นำเข้าทองคำสูงสุดในรอบ 5 ปี และนำเข้าเชื้อเพลิง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

สรุปตัว X-M ชะลอตัวอย่างมากทั้งในแง่ของตัวสินค้าส่งออกเองจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า Trade War และการท่องเที่ยวที่มากระทบหนักในช่วง Q3 ต้องติดตามว่า Q4 จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาได้ไหม

สรุปภาพรวม GDP

ที่ผ่านมาเราพึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมาก รอบนี้มาสะดุดลง แล้วยังไปโดนเรื่องการท่องเที่ยวมาซ้ำเติมอีก แต่ยังดีที่ได้การบริโภคเอกชน กับการลงทุนโตมาพอดี แต่ก็ยังไม่เร็วพอ

ที่สำคัญยังไปกระจุกตัวกับสินค้าคงทนอย่างรถยนต์ มากกว่าที่จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีในระยะยาว เพราะไม่ได้ทำให้เกิดการจ้างงานเป็นวงกว้าง รายได้ของคนในประเทศก็จะไม่เพิ่มอย่างทั่วถึง สุดท้ายอาจจะต้องมาพึ่งการใช้จ่ายภาครัฐบาลให้มากกว่านี้และกระจายเป็นวงกว้างเพื่อให้ GDP กลับมาโตแบบสมดุลและยั่งยืน

ที่มา https://www.facebook.com/stock.vitamins
ขอโทษที่ยาวไปนะครับ

แต่ส่วนตัวมองว่าการจับจ่ายในระดับชุมชนลดลงเนื่องจากการที่ผู้จับจ่ายหันไปใช้บริการในส่วนออนไลน์หรือจับจ่ายในระดับห้างสรรพสินค้า เช่น แมคโคร โลตัส ซึ่งได้ความสะดวกและบริการที่ดีราคามาตรฐาน ทำให้เม็ดเงินส่วนนี้หายจากตลาดระดับชุมชนไปเยอะ เหมือนยกตัวอย่างตัวผมเองทำธุรกิจด้านบริการ ต้องมีการจับจ่ายของสดและของใช้ ส่วนมากก็เลือกใช้แมคโครแทนที่จะเป็นตลาด เนื่องจากมีความสะอาด สะดวก มีบริการด้านต่างๆมากกว่า ได้ของครบในที่เดียว แต่บางอย่างก็ยังใช้บริการตลาดอยู่แต่น้อยลงมากครับ

ที่บอกว่าขายของออนไลน์มันโต จากปี 59 ยอดการชำระผ่านบัตรเดบิตอย่างเดียว 3.4 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นเป็น 16.5 ล้านรายการ หรือตกวันละ 4.5 หมื่นรายการ หรือปีเดียวโต 389%

อันนี้เราพูดถึงจำนวนครั้งที่มีการชำระเงินนะ โดยที่ยังไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณสินค้า หรือปริมาณมูลค่า และทั้งนี้ย้ำด้วยว่าพูดถึงเฉพาะการชำระด้วยบัตรเดบิตอย่งเดียว ไม่รวมอินเตอร์เน็ตแบงกิ้งหรือการชำระเงินหน้าเคาน์เตอร์

โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
แก้ไขล่าสุดโดย Burmlotelli เมื่อ Mon Feb 18, 2019 10:39, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ออฟไลน์
แข้งลีกเอิง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 06 Sep 2013
ตอบ: 9904
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 10:39
[RE: เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน]
เศรษฐกิจถ้าหมายถึง GDP อาจจะโต
เศรษฐกิจถ้าหมายถึง ปากท้อง คงไม่ต้องอธิบาย
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 11 Feb 2016
ตอบ: 13678
ที่อยู่: N/A
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 10:48
[RE: เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน]
ฝั่งนึงไล่ไปดูในเน็ต ขายออนไลน์โคตรบูม

อีกฝั่งไล่ไปดูในห้างร้าน ที่เจ๊ง ปิดหมด

แก้ไขล่าสุดโดย DariusXalan เมื่อ Mon Feb 18, 2019 10:48, ทั้งหมด 1 ครั้ง
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
Don't tell mom I'm in Succersuck



ออฟไลน์
แข้งเจลีก
Status: ~~ ♡. (° ο°)~
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 31 Oct 2014
ตอบ: 6489
ที่อยู่: LONDON
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 10:50
[RE: เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน]
GDP ดี แต่รวยเป็นกระจุก จนกันกระจาย

1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน


ออนไลน์
โค้ช A-License
Status: ไม่ได้มากมายเลย !!
: 1 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 13 Mar 2018
ตอบ: 38484
ที่อยู่: เกาะแคนดี้
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 10:57
[RE: เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน]
รวยกระจุกจนกระจายเป็นกันทุกประเทศแหละครับ

ปัญหาคือทำอย่างไร ให้คนส่วนใหญ่มีรายได้มากพอ

เลี้ยงชีพตัวเองและครอบครัว ได้โดยไม่ต้องลำบากมากนัก
3
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวเตะลา ลีกา
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 15 Dec 2006
ตอบ: 9794
ที่อยู่: Hotspur Way, Enfield.
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 11:00
[RE: เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน]
มู้คุณภาพ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
“ชนชั้นใดร่างกฎหมายก็เพื่อชนชั้นนั้น”
Cr คาร์ล มากซ์
ออฟไลน์
นักเตะอบต.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 15 Sep 2005
ตอบ: 2260
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 11:19
[RE: เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน]
รวยกระจุกจนกระจาย

และคิดว่ารัฐสามารถช่วยได้มากกว่านี้

แต่คงต้องรอหลังเลือกตั้ง
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะเทศบาล
Status: SS Data Scientist
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 May 2006
ตอบ: 2570
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 11:29
[RE: เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน]
- ผมว่าใช้ GDP ต่อหัว แฟร์สุด ประเทศใหญ่ ทรัพยากรเยอะ คนเยอะ ตัวหารก็ต้องเยอะ
ประเทศเล็ก ทรัพยากรไม่ค่อยมี คนน้อย ตัวหารก็ต้องน้อย

- เศรษฐกิจ เราก็โตมาเรื่อยๆนะ โตแบบช้าๆ เป็นแบบนี้ทุกยุค

- เทียบกะเพื่อนบ้านเราก็อยู่บนๆครับ รอง สิงคโปร์ บรูไน มาเลย์

1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 10 Nov 2018
ตอบ: 7528
ที่อยู่: CNX
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 11:32
ถูกแบนแล้ว
[RE: เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน]
ไม่อยากรวยกระจุก ก็นารวมสิ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวซัลโวยุโรป
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 11 Feb 2017
ตอบ: 6050
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 13:12
[RE: เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน]
-อยากทราบว่าเศรษฐกิจช่วง4-5ปีหลัง นี่เป็นยังไงบ้างหรอครับ ในอนาคตข้างหน้ามีแนวโน้มไปในทางไหนบ้าง

4 - 5 ปีหลัง รัฐบาล เงินคงคลัง เกินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นครับ
อนาคต ถ้ารัฐบาลยังมีเสถียรภาพทางการเงินอยู่ ไม่น่าจะแย่ลงครับ งานโครงสร้าง อุตสาหกรรมขนาดใหญ่กำลังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ส่วนที่น่าห่วงคือภาคเกษตรกรรม ที่มีหนี้ต่อหัวเยอะขึ้น (จากเงินงทุน ปุ๋ย ที่ดิน ยาฆ่าแมลง ที่ดิน)



-พวกค่าที่เขาใช้เป็นตัววัดต่างๆนี่มากหรือน้อยยังไงบ้างครับ เช่นพวก GDP อะไรทำนองนี้

Top ment ตอบให้แล้วครับ อันนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของคน ว่าจะเอาภาคไหนมาตอบ
รวยกระจุก จนกระจายไหม ผมว่าไม่ อันนี้ผมขอให้คำศัพท์แบบผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้คำว่า

"เศรษฐกิจสองสปีด" คือกลุ่มคนรวย หรือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่มีเงินมากขึ้น จากการอุดหนุนของภาครัฐ หรือกิจการนอกประเทศต่างๆ ฯลฯ ก็เติบโตได้เร็ว และเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ซึ่งดึง GDP ชาติขึ้นด้วย ส่วนระบบคนทั่วไป ข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้า เอาจริงๆผมว่าไม่ได้จนลงนะ แม้หลายคนจะบอกว่าดูเรื่องปากท้อง ผมก็ยังไม่เห็นใครจะตาย แบบไม่มีข้าวกินอดกินจริงจังนะ มันก็มีตามสภาพ ขึ้นอยู่กับการปรับตัวและฝีมือแรงงานด้วย ลองดูองค์ประกอบรอบตัวเราก็ได้ครับ พ่อค้าแม่ค้าใน fb / ig เพิ่มขึ้นเกลื่อน Kerry และระบบขนส่งต่างๆเพิ่มปริมาณการขนส่งมหาศาลขนาดไหน การขยายตัวของปริมาณนักท่องเที่ยวที่ท่าอากาศยานพยายามขยายให้รับรองนักท่องเที่ยวให้ได้มากกว่า 40 ล้านคนต่อปี หรือยอดเปิดการแสดงคอนเสิร์ทจากศิลปินต่างประเทศกี่คนต่อกี่คน บัตรหมดเกลี้ยงทุกใบทุกรอบ อันนี้ผมว่าเป็นตัวเทียบเคียงเศรษฐกิจที่ดีพอสมควรนะ

ส่วนเรื่องเลข GDP อันนี้พยายามดูอย่างเป็นกลางและตีความในหลายๆแบบ การที่ประเทศไทย GDP มีการปรับลดลง หรือน้อยกว่าประเทศเพิ่งพัฒนาอย่างแถบๆเพื่อนบ้านเรา ถือว่าไม่น่าตกใจ เพราะประเทศเพิ่งพัฒนา GDP จะโดดไปสูงก็๋ไม่แปลก แต่พอเริ่มคงที่แล้ว GDP จะปรับลดลงมาอยู่ในระดับปกติที่ประมาณ 3 - 4 % เป็นปกติครับ



-แล้วถ้าเปรียบเทียบกับประเทศไทยช่วงก่อนหน้านี้เป็นยังไงบ้างครับ

ผมมองว่าดีขึ้นครับ แต่ไม่ได้ดีขึ้นแบบหวือหวา หรือแบบก้าวกระโดด ดีขึ้นด้วยทุนสำรองที่มากขึ้น เสถียรภาพมีมากขึ้น แต่ต้องย้อนไปมองว่าอยู่ภาคส่วนไหน อันนี้เป็นไปตามกลไกของโลกด้วย ถ้าช่วงเศรษฐกิจโลกชลอ ยังไงก็ดรอปลงเช่นกันครับ

แต่ก็ให้เครดิตยุครัฐบาลก่อนนู้นด้วย ที่เคยทำให้เศรษฐกิจไทยบูมมากๆขึ้นมาพักนึง ถ้าดทียบแล้วตอนนี้อาจจะไม่บูมเท่ายุคนั้น แต่รู้สึกว่ามั่นคงกว่า แน่นอนกว่า




-เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านตอนนี้เราดีหรือด้อยกว่าเยอะมั้ยครับ

เทียบกับเพื่อนบ้าน ประเทศเรายังได้เปรียบในเรื่องของ Location และ infrastructure หรือโครงสร้างพื้นฐานต่างๆอยุ่ครับ เรื่องการขนส่ง ระบบราง ท่าเรือน้ำลึก ดังนั้นตอนนี้ในแถบ CLMV เราถือว่าโดดเด่นกว่า รวมไปทั้งภาคการท่องเที่ยวด้วยครับ

แต่ก็ไม่ควรประมาทตอนนี้ เวียดนาม และลาว ได้เสี่ยเป๋าตุงอย่างจีน กำลังลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานตามนโยบาย One belt one Road อยู่ ดังนั้นในอนาคตลาวและเวียดนามน่าจะเติบโตได้รวดเร็วพอสมควร

ดังนั้นเทียบกับเพื่อนบ้านผมว่าเรายังคงที่ครับ ไม่ได้พัฒนาอะไรที่น่ากลัวกว่าประเทศเพื่อนบ้านเรา ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านกำลังไล่ตามเรามาครับ อันนี้ค่อนข้างอันตรายครับ

ส่วนจะไปเทียบกับญี่ปุ่น เกาหลี จีน อันนี้เรายังตามหลังไกลโขเลยครับ



สรุป สำหรับตัวผมมองว่าเศรษฐกิจโดยทั่วไปของประเทศไทย "ดีขึ้น" ครับ
แก้ไขล่าสุดโดย BeBlue เมื่อ Mon Feb 18, 2019 13:13, ทั้งหมด 1 ครั้ง
5
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ง.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 12 Aug 2017
ตอบ: 3346
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 13:33
[RE]เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน
Burmlotelli พิมพ์ว่า:


ประมาณการ ณ วันที่ 19 พ.ย. 2561 GDP มีมูลค่า 16.3 ล้านล้านบาท

คิดเป็นรายได้ต่อหัวก็ตกอยู่ที่ 241,027 บาท ต่อปี หรือ ตกเดือนละประมาณ 20,085 บาท

แต่อย่างที่เราทราบกันว่ามีผู้มีรายได้น้อย 14 ล้านคน ที่มีรายได้ไม่ถึง 100,000 บาทต่อปี (เดือนละ 8,300 บาท)

นั่นแปลว่า เราก็ยังมีปัญหาการกระจายรายได้แบบ “รวยกระจุก จนกระจาย” อยู่ดี

ปี 2558 GDP 3%
ปี 2559 GDP 3.3%
ปี 2560 GDP 3.9%
Q1’2561 GDP 4.9%
Q2’2561 GDP 4.6%
Q3’2561 GDP 3.3%

เรากลับไปเห็นเลข 3 กันอีกครั้ง ซึ่งเท่ากับเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 7 ไตรมาส

ถ้าจะให้สรุปถึงสาเหตุแบบสั้น ๆ คือ ส่งออกเป็นตัวฉุดจากเศรษฐกิจหลายประเทศเริ่มชะลอ ผลกระทบจากสงครามการค้า คนจีนมาเที่ยวลดลง ขณะที่ตัว C โตขึ้นต่อเนื่องจากรถยนต์ ตัว I โตจากก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีใน EEC มากขึ้น ทีนี้เรามาดูรายละเอียดทีละตัวกันจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นครับ

Consumption (49% ของ GDP) เติบโต 5%

• ดีต่อเนื่องขยายตัวสูดสุดรอบ 22 ไตรมาส ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 3.2% >> 3.7% >> 4.5% >> 5%

• สินค้าคงทน +16.7% (คือของที่ใช้แล้วทน ไม่พังง่าย) โดยยอดขายรถยนต์นั่ง +27% ยังโตต่อเนื่องหลังจากหมดรถคันแรกมา 5 ปี คนก็เริ่มเปลี่ยนรถกันใหม่ (เป็นหนี้ใหม่นั่นเอง) >> ดัชนีตัวนี้บอกได้ว่าคนฐานะปานกลางถึงรวยมีการใช้จ่ายกันเยอะ

• สินค้าไม่คงทนทรงตัว (สินค้าอุปโภคบริโภค ของกินของใช้) แปลว่า คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช้จ่าย แต่ข่าวดีคือ กินเหล้า สูบบุหรี่กันลดลง ไปเพิ่มกันที่แป้ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ เยอะขึ้น

• สาเหตุที่ของกินของใช้ไม่เพิ่มเพราะว่ารายได้เกษตรกรไม่ได้เพิ่มเยอะ +1.1% ค่าจ้างแรงงาน +1.8% และหนี้ครัวเรือนยังสูงอยู่ที่ 77.5% ของ GDP ถึงแม้ว่าจะมีคนรายได้น้อยได้เงินธงฟ้ามาช่วยแล้วก็ตาม

• ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 69.6% สูงสุดในรอบ 15 ไตรมาส

สรุป ตัว C เติบโตจริงจากคนเปลี่ยนรถยนต์กัน แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่ได้มีเงินเพิ่มในกระเป๋าเท่าไหร่ หาได้มาก็ใช้หนี้ก่อน แล้วค่อยมาซื้อของกินของใช้ คือ ถ้าไม่รีบหาทางเพิ่มรายได้กับคนส่วนมาก (แบบยั่งยืนนะ ไม่ใช่แค่แจกเงิน) แล้วยอดขายรถยนต์เริ่มแผ่วเมื่อไหร่ เครื่องจักรตัวนี้ก็อาจจะมีปัญหาในอนาคตได้

Private Investment (23% ของ GDP) เติบโต 3.9%

• โตต่อเนื่องขยายตัวสูดสุดรอบ 15 ไตรมาส ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 1.7% >> 3.1% >> 3.2% >> 3.9%

• อัตราการใช้กำลังการผลิตก็ดูดีอยู่ จากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 67% >> 72% >> 66% >> 66.5%

• พระเอก คือ การก่อสร้าง +5.4% โดยเฉพาะพวกคอนโดสูงเกิน 16 ชั้น โรงงานอุตสาหกรรม (เห็นการขออนุญาตในแถบ EEC มากขึ้น) แต่ว่าตึกแถวอาคารพาณิชย์ลดลง

• เครื่องมือเครื่องจักร +3.4% ก็โตดีอยู่ตามกำลังการผลิตที่ดูมีแนวโน้มดีขึ้น และโตที่หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ตามการบริโภคเลย

• ดัชนึความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 51.6% โตขึ้น

สรุป ตัว I ดี สอดคล้องกับการบริโภค และเริ่มเห็นการก่อสร้างเติบโตเรื่อยๆ EEC เริ่มมา ถ้านโยบายขยายการลงทุนของภาครัฐเพิ่มเติม ก็น่าจะเป็นตัวเร่งให้เครื่องจักรตัวนี้ทำงานได้ดีขึ้น

Government (16% ของ GDP)

• การใช้จ่ายภาครัฐเรียกว่าค่อย ๆ เพิ่มทีละนิดดีกว่า ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 0.5% >> 1.9% >> 2.0 >> 2.1% มาจากที่ช่วงหลัง ๆ เริ่มเบิกจ่ายงบประมาณได้ดีขึ้น แรก ๆ กลัวทำผิด พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างกัน

• การลงทุนภาครัฐ ถ้าดูจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ -1.2% >> 4% >> 4.9 >> 4.2% เติบโตจากการลงทุนภาครัฐวิสาหกิจต่อเนื่อง

สรุป ตัว G ค่อย ๆ มา ถ้าเร่งให้มีการเบิกจ่ายเร็วขึ้น และมีการลงทุนมากขึ้นก็น่าจะส่งผลดีกับการลงทุนภาคเอกชนตามมา

Export (67% ของ GDP) +2.6%

• ถ้าดูในรูปแบบ USD จากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 9.8% >> 9.9% >> 12.3% >> 2.6%

• แต่ถ้ามาดูในรูปของเงินบาท -0.1% สาเหตุหลักมาจาก 3 เรื่อง คือ คู่ค่าต่างประเทศเศรษฐกิจชะลอ Trade War และคนจีนมาเที่ยวไทยลดลง

• ประเทศคู่ค้าเศรษฐกิจชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน ทั้งจีน ยุโรป อาเซียน (ประเทศที่โตดีคือ อเมริกา และเวียดนาม)

• สินค้าส่งออกที่ขยายตัว คือ รถกระบะ รถบรรทุก ปิโตรเลียม ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มันสำปะหลัง ข้าว (แต่ระวังว่า ข้าว ได้จากประมูลที่ฟิลิปปินส์เพิ่มมา)

• สินค้าส่งออกที่หดตัว คือ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า กุ้ง แผงวงจร ยางพารา (สต็อคยางที่จีนสูง ส่วนแผงวงจรคือผลกระทบจาก Trade War)

นักท่องเที่ยวต่างประเทศ +1.9%

• จำนวนนักท่องเที่ยวจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 9.4% >> 15.5% >> 8.4% >> 1.9%

• รายรับนักท่องเที่ยวจากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 12.1% >> 18.9% >> 13.7% >> 0.5%

• อัตราการเข้าพัก 65.4% ลดลงจาก Q2 ที่ 71.4% แต่มากกว่า Q3’60 ที่ 63.7%

• นักท่องเที่ยวจีนลดลงจากเรือล่ม และเงินหยวนอ่อนค่า (-8.8%) นักท่องเที่ยวรัสเซียลดลงจากบอลโลก (-7.2%) แต่ได้อาเซียน โดยเฉพาะมาเลเซียเพิ่มขึ้น (+26.3%) แต่ในแง่รายได้คนจีนใช้จ่าย 55,000 บาทต่อทริป ขณะที่นักท่องเที่ยวอาเซียนใช้อยู่ 31,000 บาทต่อทริป เลยชดเชยกันไม่พอ

Import (56% ของ GDP) เติบโต 17%

• ในรูปแบบ USD จากปี 60 มาถึง Q1,Q2,Q3 คือ 14.4% >> 16.3% >> 16.8% >> 17%

• นำเข้าทองคำสูงสุดในรอบ 5 ปี และนำเข้าเชื้อเพลิง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

สรุปตัว X-M ชะลอตัวอย่างมากทั้งในแง่ของตัวสินค้าส่งออกเองจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า Trade War และการท่องเที่ยวที่มากระทบหนักในช่วง Q3 ต้องติดตามว่า Q4 จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาได้ไหม

สรุปภาพรวม GDP

ที่ผ่านมาเราพึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมาก รอบนี้มาสะดุดลง แล้วยังไปโดนเรื่องการท่องเที่ยวมาซ้ำเติมอีก แต่ยังดีที่ได้การบริโภคเอกชน กับการลงทุนโตมาพอดี แต่ก็ยังไม่เร็วพอ

ที่สำคัญยังไปกระจุกตัวกับสินค้าคงทนอย่างรถยนต์ มากกว่าที่จะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีในระยะยาว เพราะไม่ได้ทำให้เกิดการจ้างงานเป็นวงกว้าง รายได้ของคนในประเทศก็จะไม่เพิ่มอย่างทั่วถึง สุดท้ายอาจจะต้องมาพึ่งการใช้จ่ายภาครัฐบาลให้มากกว่านี้และกระจายเป็นวงกว้างเพื่อให้ GDP กลับมาโตแบบสมดุลและยั่งยืน

ที่มา https://www.facebook.com/stock.vitamins
ขอโทษที่ยาวไปนะครับ

แต่ส่วนตัวมองว่าการจับจ่ายในระดับชุมชนลดลงเนื่องจากการที่ผู้จับจ่ายหันไปใช้บริการในส่วนออนไลน์หรือจับจ่ายในระดับห้างสรรพสินค้า เช่น แมคโคร โลตัส ซึ่งได้ความสะดวกและบริการที่ดีราคามาตรฐาน ทำให้เม็ดเงินส่วนนี้หายจากตลาดระดับชุมชนไปเยอะ เหมือนยกตัวอย่างตัวผมเองทำธุรกิจด้านบริการ ต้องมีการจับจ่ายของสดและของใช้ ส่วนมากก็เลือกใช้แมคโครแทนที่จะเป็นตลาด เนื่องจากมีความสะอาด สะดวก มีบริการด้านต่างๆมากกว่า ได้ของครบในที่เดียว แต่บางอย่างก็ยังใช้บริการตลาดอยู่แต่น้อยลงมากครับ

ที่บอกว่าขายของออนไลน์มันโต จากปี 59 ยอดการชำระผ่านบัตรเดบิตอย่างเดียว 3.4 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นเป็น 16.5 ล้านรายการ หรือตกวันละ 4.5 หมื่นรายการ หรือปีเดียวโต 389%

อันนี้เราพูดถึงจำนวนครั้งที่มีการชำระเงินนะ โดยที่ยังไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณสินค้า หรือปริมาณมูลค่า และทั้งนี้ย้ำด้วยว่าพูดถึงเฉพาะการชำระด้วยบัตรเดบิตอย่งเดียว ไม่รวมอินเตอร์เน็ตแบงกิ้งหรือการชำระเงินหน้าเคาน์เตอร์

 

ขอบคุณข้อมูลในส่วนนี้มากครับ ข้อมูลแน่นมากจริงๆ เป็นประโยชน์ต่อคนที่เข้ามาอ่านด้วยครับ
โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะท้ายซอย
Status: อีก 20 ปีก็จะรอ
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 04 Sep 2013
ตอบ: 1839
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 13:37
[RE: เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน]
คนรวยก็รวยขึ้นไปอีก สังเกตจากรถหรูยอดขายดีขึ้น คนจนก็จนลงไปอีก สังเกตร้านข้างทาง ทยอยปิดไปไป ร้าน 711 ทยอยเพิ่มมากขึ้น ร้านอาหารเล็กๆ ปิดตัวลง ห้างใหญ่ๆ เพิ่มมากขึ้น
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 23 Jan 2009
ตอบ: 384
ที่อยู่: ขอนไม้เปียกๆ
โพสเมื่อ: Mon Feb 18, 2019 13:48
[RE: เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน]
ปรับตัวสร้างรายได้เอง ไม่ใช่รอเงินเดือนขึ้น หรือมีรายได้หลักอยู่แล้วก็หารายได้เสริม
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
sig ห้ามเกิน 600x250
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel