ผู้ตั้ง
ข้อความ
เข้าร่วม: 11 Feb 2017
ตอบ: 2399
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Sep 23, 2017 5:12 pm
พยายามทำความเข้าใจเรื่องไทยแลนด์ 4.0 : โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์


ผู้เขียนรำคาญตัวเองเหลือเกินที่ไม่เข้าใจนโยบายหลักของรัฐบาลเรื่องไทยแลนด์ 4.0 เมื่อถูกถามก็งงเพราะเคยแต่ได้ยินและศึกษามาบ้างเรื่อง “อุตสาหกรรม 4.0” ของคนเยอรมันเขาเท่านั้น ครั้นจะตอบไปก็มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูจะทำให้กลายเป็นคนไม่เข้าท่าไปเนื่องจากถูกถามอย่าง แต่ตอบไปอีกอย่าง

ยิ่งไปกว่านั้นผู้เขียนก็ยิ่งรำคาญหนักขึ้นไปอีกตอนที่ลูกศิษย์ลูกหา หรือข้าราชการที่มาคุยด้วย หรือที่ต้องสอบวิทยานิพนธ์ที่ชอบอ้างนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เสมอครั้นผู้เขียนถามแบบขอความรู้ว่าไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร? ก็ปรากฏว่าใบ้กินอึกอักตอบไม่ได้เลยแม้แต่คนเดียว

ผู้เขียนได้พยายามศึกษาเรื่องนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จากคำชี้แจงอธิบายของผู้ริเริ่มนโยบายนี้คือท่าน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ให้คำนิยามอย่างง่ายๆ ของ “ไทยแลนด์ 4.0” คือการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ความมั่งคั่งอย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจจากการพึ่งพาการลงทุนต่างประเทศ มาเป็นการลงทุนวิจัยและพัฒนาตัวเอง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาคน สร้างการวิจัยและพัฒนา โครงสร้างเศรษฐกิจ ให้ไทยสามารถอยู่ได้ในศตวรรษที่ 21 ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การปฏิรูปการวิจัยและพัฒนา การปฏิรูปการศึกษา ที่จะต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กัน ซึ่งสำหรับประเทศไทยเองใน ขณะนี้ยังติดอยู่ใน “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” จะเห็นได้จากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ในช่วงระยะแรก (พ.ศ.2500-2536) เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 7-8% ต่อปี

อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะถัดมา (พ.ศ.2537-ปัจจุบัน) เศรษฐกิจไทยเริ่มมีการเติบโตในระดับเพียง 3-4% ต่อปีเท่านั้น ประเทศไทยจึงมีอยู่แค่ 2 ทางเลือก หากเราปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจได้สำเร็จ ประเทศไทยจะกลายเป็น “ประเทศที่มีรายได้ที่สูง” แต่หากทำไม่สำเร็จ ก้าวข้ามกับดักนี้ไปไม่ได้ ประเทศไทยก็จะตกอยู่ในภาวะที่เรียกกันว่า “ทศวรรษแห่งความว่างเปล่า” ไปอีกยาวนาน หากย้อนหลังไปในอดีต ประเทศไทยเองก็มีการปรับโมเดลเศรษฐกิจอยู่หลายครั้ง เริ่มจาก “โมเดลประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “โมเดลประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่ “โมเดลประเทศไทย 3.0” ในปัจจุบันที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก

อย่างไรก็ดี ภายใต้ “โมเดลประเทศไทย 3.0” นั้น นอกจากต้องเผชิญกับกับดักประเทศรายได้ปานกลางแล้ว เรายังต้องเผชิญกับ “กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่สมดุลในการพัฒนา” กับดักเหล่านี้เป็นประเด็นที่ท้าทายรัฐบาลในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อก้าวข้าม “ประเทศไทย 3.0” ไปสู่ “ประเทศไทย 4.0”

“ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวคือ ในปัจจุบันเรายังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก” นั่นเอง

มาถึงตรงนี้เองที่ผู้เขียนเริ่มสังเกตเห็นว่าข้อมูลทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองของการปรับโมเดลทางเศรษฐกิจในประวัติศาสตร์ไทยคลาดเคลื่อนอย่างมาก เนื่องจากโมเดลทางเศรษฐกิจของไทยเราตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาจนถึง พ.ศ.2398 (หลายร้อยปี) เป็นแบบรัฐบาลผูกขาดการค้าแต่ผู้เดียว และไม่ส่งเสริมการค้าข้าวเนื่องจากข้าวเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญต่อความมั่นคง ครั้นไทยเราถูกบังคับจากอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2398 ให้ทำสัญญาเบาว์ริงและทำสัญญาทำนองเดียวกันนี้กับประเทศตะวันตกหลายประเทศ จึงต้องยอมยกเลิกการผูกขาดทางการค้า โดยรัฐบาลไทยทำให้การเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข้าวขยายตัวเป็นสินค้าขาออกที่สำคัญที่สุดตั้งแต่นั้นมา อาจจะกล่าวได้ว่านี่แหละคือไทยแลนด์ 1.0

จนกระทั่งปี พ.ศ.2504 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้เปลี่ยนโมเดลทางเศรษฐกิจเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมเบาแบบการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า เช่น โรงงานปั่นด้าย โรงงานทอผ้า เป็นต้น นับว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างใหญ่หลวงอาจเรียกได้ว่าเป็นไทยแลนด์ 2.0

ครั้นถึงปี พ.ศ.2528 ญี่ปุ่นผู้ก้าวขึ้นความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก (ปัจจุบันเป็นอันดับที่ 3 ไปแล้วโดยมีสาธารณรัฐประชาชนจีนแซงขึ้นมาแทนที่เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง) ถูกบีบจากสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศทางตะวันตกให้ปล่อยค่าเงินเยนของญี่ปุ่นลอยตัวทำให้ญี่ปุ่นต้องย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นเพื่อหนีค่าแรงและค่าโสหุ้ยที่แพงเกินไปมาที่ประเทศไทย แบบว่าในช่วง พ.ศ.2530-2535 นั้นมีโรงงานของญี่ปุ่นเปิดดำเนินงาน 1 โรง ทุก 3 วันเลยทีเดียว โมเดลทางเศรษฐกิจของไทยจึงเปลี่ยนไปเป็นอุตสาหกรรมหนักเพื่อการส่งออก เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ และโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เพื่อการส่งออกเป็นหลัก ทำให้ความสำคัญของภาคการเกษตรลดลงอย่างมากเนื่องจากคิดเป็นรายได้จากจีดีพีนั้น รายได้จากการเกษตรลดลงเหลือเพียง 8.4-8.9% ของจีดีพีเท่านั้น และผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าว อ้อย ยางพารา ได้กลายเป็นพืชการเมืองไปคือรัฐบาลต้องคอยช่วยเหลือด้วยการประกันราคาข้าวบ้างหรือจำนำข้าวบ้าง เป็นต้น และภาคบริการก็ทวีความสำคัญโดยเฉพาะรายได้จากการท่องเที่ยวถือเป็นรายได้หลักของประเทศไปแล้ว

ครับ! นี่แหละช่วง พ.ศ.2528 มาจนถึงปัจจุบันจึงน่าจะเป็นไทยแลนด์ 3.0 ที่เรียกว่าเป็นรูปแบบของโมเดลเศรษฐกิจของไทย

ท่านผู้อ่านที่เคารพคงจะสังเกตเห็นว่าการเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นมาจากปัจจัยภายนอกแท้ๆ เป็นสำคัญ ดังจะเห็นจากไทยแลนด์ 1.0 เกิดขึ้นเพราะสัญญาเบาว์ริงที่ยกเลิกการค้าผูกขาดโดยรัฐบาลไทยทำให้รายได้สำคัญของประเทศมาจากภาคเกษตรกรรม ส่วนไทยแลนด์ 2.0 ก็มาจากอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาผ่านทางธนาคารโลกที่ให้เขียนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปีตามแบบคอมมิวนิสต์รัสเซียแท้ๆ จึงเกิดอุตสาหกรรมเบาขึ้น ส่วนไทยแลนด์ 3.0 ก็เป็นเพราะญี่ปุ่น ไต้หวัน ย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมหนักมาอยู่ที่ประเทศไทยจึงสร้างการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งมโหฬารที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

ส่วนเรื่องไทยแลนด์ 4.0 ที่ไม่มีใครรู้เรื่องนั้นจึงเป็นเรื่องปกติเพราะเมื่อข้อมูลพื้นฐานผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปหมดแล้วก็เหมือนเริ่มต้นด้วยการกลัดกระดุมผิดตั้งแต่กระดุมเม็ดแรกแล้วต่อไปก็ผิดหมดแหละครับ

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์


ที่มา
Spoil
https://www.matichon.co.th/news/667482  
เข้าร่วม: 31 Oct 2014
ตอบ: 19395
ที่อยู่: แถวๆนี้แหละครับ
โพสเมื่อ: Sat Sep 23, 2017 5:25 pm
[RE: พยายามทำความเข้าใจเรื่องไทยแลนด์ 4.0 : โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์]
มารายงานตัวว่าอ่านจบครับ



ความเข้าใจตอนนี้ 4.0 เหมือนอนาคตแหละ มองไม่เห็นหรอก

เพราะเขาวางแผนให้ตั้ง20ปี ก็คงตราบนานเท่านาน
0
0
เข้าร่วม: 11 Feb 2016
ตอบ: 28143
ที่อยู่: ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ โลก เข้าร่วม: 13 Feb 2005
โพสเมื่อ: Sat Sep 23, 2017 5:27 pm
พยายามทำความเข้าใจเรื่องไทยแลนด์ 4.0 : โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
หลายคนก็ยังเขียนยาก
ผมสรุปให้นะ จากอ่านแผนยุทธศาสตร์และทำวิจัยมาด้วย

1.0 ส่งเสริมการเกษตรปศุสัตว์ หรือการผลิตสินค้าจากธรรมชาติ
2.0 ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเบา หรือการต่อยอดพัฒนาสินค้าตามท้องถิ่น เช่ทำกระดาษ ทำรองเท้าหนังอื่นๆ
3.0 ทำอุตสาหกรรมหนักโดยอาศัยเทคโนโลยีต่างชาติ

และ
4.0 การส่งเสริมนวตกรรมเทคโนโลยี และบริการนวตกรรม


แต่เอาเจ้าจริงๆ
รัฐก็ทิ้งการส่งเสริม1.0, 2.0. ไม่ลงหรอกหรอกครับ

อีกมุมหนึ่ง 4.0. มันทำเงินดีเอกชนนายทุนจะช่วยลงทุนให้เอง แต่ต้องเจ๋งจีิงๆ
1
0
เข้าร่วม: 26 Jan 2008
ตอบ: 981
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Sep 23, 2017 6:11 pm
[RE]พยายามทำความเข้าใจเรื่องไทยแลนด์ 4.0 : โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
เออพูดไปก็จริงของอ.นะ อะไรวะอยู่ดีๆมา 4.0 พูดๆๆกันไปเรื่อย อีคำว่า Paperless ในระบบราชการอะ เห็นมาหลายสิบปีและ แม่งก็ยังให้ใช้เอกสารเป็นตั้งๆอยู่ดี 55
0
0
เข้าร่วม: 11 Feb 2017
ตอบ: 66
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Sep 23, 2017 7:46 pm
พยายามทำความเข้าใจเรื่องไทยแลนด์ 4.0 : โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
4.0 innovation knowleage
5.0 robot technology =ญี่ปุ่น
6.0 nano technology
7.0 space =อเมริกา
เคยไปฟังอจ.มา เป็นแนวคิดในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ ปล.5-6อาจจัำสลับ
0
0
เข้าร่วม: 18 Oct 2007
ตอบ: 11337
ที่อยู่: แถวๆ เซเรีย บี
โพสเมื่อ: Sun Sep 24, 2017 12:23 am
[RE: พยายามทำความเข้าใจเรื่องไทยแลนด์ 4.0 : โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์]
จริงๆ คุณพ่อของจอห์น วิญญู น่าจะเขียนบทความลง Spokedark ไปเลยนะครับ ธุรกิจครอบครัว
0
0
เข้าร่วม: 03 Dec 2010
ตอบ: 1863
ที่อยู่: บนโลกแห่งความจริง ทุกสิ่งที่วุ่นวาย
โพสเมื่อ: Sun Sep 24, 2017 8:10 am
[RE]พยายามทำความเข้าใจเรื่องไทยแลนด์ 4.0 : โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
สาระล้วนๆเลย เข้ามาอ่านพอดีก่อนสอบ ขอบคุณครับ
0
0
...........................ทรงพระเจริญ....................