ผู้ตั้ง
ข้อความ
เข้าร่วม: 23 May 2007
ตอบ: 145
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Apr 28, 2017 9:31 pm
บุญผ่องวีรบุรุษเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเหลือเชลยศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2


ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีแผนในการสร้างทางรถไฟเพื่อที่จะตัดต่อไปยังประเทศพม่า จึงมีการต้อนเชลยศึกซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารสัมพันธมิตรชาติอังกฤษ, ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์มาที่กาญจนบุรีเพื่อสร้างทางรถไฟ จึงได้มาติดต่อขอซื้ออาหารจากร้านบุญผ่องแอนด์บราเดอร์ ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว ของนายบุญผ่อง เพื่อให้ไปส่งถึงที่ค่ายที่บริเวณเขาช่องไก่ เลียบแม่น้ำแควน้อย (ช่องเขาขาด ในปัจจุบัน) นายบุญผ่องเมื่อได้เข้าไปถึงในค่ายเห็นสภาพความเป็นอยู่ของเชลยแล้วพบว่า มีความเป็นที่อยู่ที่ทรมานอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่บาดเจ็บล้มป่วยจากโรคมาเลเรียและการทำงานหนัก แต่ไม่มียารักษา จากสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าดิบทึบ มีเชลยที่ต้องเสียชีวิตจากการนี้เป็นจำนวนมาก นายบุญผ่องจึงแอบลักลอบนำยาตลอดจนอาหารและจดหมายติดต่อต่าง ๆ เข้าไปยังค่ายก่อสร้าง โดยซ่อนไว้ในหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ แม้จะต้องเสี่ยงต่อชีวิต ซึ่งในครั้งหลัง ๆ นายบุญผ่องได้ให้บุตรสาวเพียงคนเดียวเอาเข้าไปให้แทน จากการที่สร้างมิตรภาพแก่ทหารญี่ปุ่น จนได้รับความไว้วางใจ กระทั่งได้รู้จักกับ น.พ.เอ็ดเวิร์ด "เวรี่" ดันล็อป แพทย์ทหารชาวออสเตรเลีย หนึ่งในเชลยศึก

หลังสงครามยุติ บุญผ่องได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์The George Cross (GC) จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อครั้งเสด็จฯเยือนเมืองไทยในปี พ.ศ. 2515 อีกทั้งได้รับสั่งให้บุญผ่องและภรรยาเข้าเฝ้าและร่วมโต๊ะเสวยด้วย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้พระราชทานยศพันโทแก่นายบุญผ่อง และพระราชทานบรรดาศักดิ์ท่านเซอร์ แก่น.พ.ดันล็อปอีกด้วย ทั้งคู่ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิ "Weary Dunlop Boon Pong Exchange Fellowship" ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ให้ทุนแก่นักศึกษาแพทย์ชาวไทย โดยเฉพาะศัลยแพทย์ ไปศึกษาต่อด้านแพทยศาสตร์ที่ประเทศออสเตรเลีย

วีรกรรมที่พันโทบุญผ่องได้สร้างไว้ ทำให้ได้รับการยกย่องอย่างมากจากชาติสัมพันธมิตร และได้รับฉายาจาก น.พ.ดันล็อปว่า "The Quiet Lions" (สิงโตเงียบ) เนื่องจากในช่วงต้นที่ติดต่อกันนั้น พันโทบุญผ่องต้องระมัดระวังตัวมาก โดยหลังสงคราม ได้เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อประกอบกิจการรถเมล์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตอบแทนน้ำใจนายบุญผ่อง ด้วยการมอบรถที่ยึดได้จากกองทัพญี่ปุ่นเกือบ 200 คัน ให้ไปเป็นรถประกอบกิจการ ในนาม บริษัท บุญผ่อง จำกัด เรียกกันว่า รถเมล์สายสีน้ำเงิน นับเป็นคู่แข่งรถเมล์ขาวของบริษัท นายเลิศ ของนายเลิศ เศรษฐบุตร





พันโทบุญผ่อง ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2525 ด้วยโรคเส้นเลือดในหัวใจพอง มีการตีพิมพ์ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และออสเตรเลีย รายงานว่า วีรบุรุษสงครามโลกชาวไทยได้เสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดในหัวใจพอง มีการสัมภาษณ์อดีตทหารผ่านศึกหลายคน กล่าวยกย่องความกล้าหาญและทำให้พวกเขารอดชีวิตมาได้เพราะผู้ชายไทยคนนี้

เรื่องราววีรกรรมของพันโทบุญผ่องได้ถูกถ่ายทอดเป็นละครโทรทัศน์เรื่อง บุญผ่อง เมื่อกลางปี พ.ศ. 2556 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอ
เข้าร่วม: 26 Feb 2010
ตอบ: 13369
ที่อยู่: Weserstadion
โพสเมื่อ: Fri Apr 28, 2017 9:38 pm
[RE: บุญผ่องวีรบุรุษเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเหลือเฉลยศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2]
เชลย เขียนแบบนี้นะครับ

คำนี้สะกดผิด ความหมายผิดไปคนละโยชน์เลย
เข้าร่วม: 20 May 2011
ตอบ: 29277
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Apr 28, 2017 9:45 pm
[RE: บุญผ่องวีรบุรุษเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเหลือเชลยศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2]
เยี่ยมเลย