ผู้ตั้ง
ข้อความ
เข้าร่วม: 23 Aug 2009
ตอบ: 476
ที่อยู่: ถ้ำของเพลโต
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 8:05 pm
คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย
คุณค่ากับการเชียร์กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย

ผมอยากจะเขียนบทความ (หรือจะเรียกเป็นอย่างอื่นก็ได้) ชิ้นนี้ขึ้นมา ก็เพราะรู้สึกคับข้องใจ กับการที่แฟนบอลชาวไทยมักใช้คุณค่าของทีมที่ตนเชียร์เป็นข้ออ้างในการทิ่มแทงแฟนบอลทีมตรงข้าม คุณค่าที่มักถูกใช้อ้างถึงมากที่สุดคือถ้วยแชมป์ แน่นอนก็เพราะว่าถ้วยแชมป์เป็นรูปธรรมของชัยชนะที่จับต้องได้ ทั้งยังเป็นเป้าหมายสูงสุดในการแข่งขันฟุตบอลแทบจะทุกรายการในโลกใบนี้ ทว่าในอีกแง่หนึ่ง คุณค่าของการเป็นแชมป์ยังผูกนัยยะของการเป็นผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวจากการต่อสู้และฝ่าฟันอย่างยาวนาน ดังนั้นการที่ทีมที่เราเชียร์ได้แชมป์จึงช่วยทำให้เราเข้าใกล้คุณค่าที่ว่าด้วย หากแต่ปัญหาก็คือการเข้าใกล้คุณค่านั้น ก็ไม่ได้แปลว่าคุณค่าจะเป็นของตัวเรา (เพราะเราไม่ได้ผลิตคุณค่านั้น) แต่ไมมีใครสนหรอก เราทึกทักหลอมรวมตัวเองเข้าไปด้วยกันกับทีม โดยไม่สนว่าแท้จริงตนเองอยู่ไกลจากคุณค่านั้นมากเพียงใด

ผมตั้งข้อสังเกตว่าแท้ที่จริงแล้ววัฒนธรรมการดูบอลในประเทศไทย เหมือนเป็นการดูภาพยนตร์จากในจอเสียมากกว่า เนื่องจากเมื่อวันที่นัดหมายของการแข่งขันมาถึง กองเชียร์หรือแฟนบอลก็จะนั่งรอที่หน้าจอโทรทัศน์ ในขณะที่จริงๆนักฟุตบอลกำลังเดินลงสนามที่อยู่ห่างออกไปไกลกว่าซีกโลก แต่เรากับรู้สึกว่าอยู่ใกล้นักฟุตบอลมากแค่จากตัวเราไปถึงจอโทรทัศน์ แต่ถ้าจะพูดกันให้ถูกแล้วละก็ เราที่นั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์อยู่ใกล้ชิดกับนักฟุตบอลมากกว่าแฟนบอลที่อยู่ในสนามเสียอีก! ก็เพราะว่า การถ่ายทอดฟุตบอลมิได้จับภาพกว้างของสนามไปเรื่อยๆให้เราดูเหมือนเวลานั่งอยู่บนอัฒจรรย์ แต่กล้องมักจะซูมเข้าไปให้เห็นรายละเอียดที่ปกติเรามักมองไม่เห็น เราเห็นอารมณ์ สีหน้าแววตาของผู้เล่น การกัดฟันสู้เมื่อทีมเป็นฝ่ายตามหลัง เราเห็นความทุ่มเทอันเต็มเปี่ยมเพื่อชัยชนะอย่างใกล้ชิด เรารู้สึกเห็นใจเมื่อพวกเขาทำผิดพลาด หรือบางครั้งก็เป็นการฉายภาพช้าของเหตุการณ์ในสนามซึ่งตาของเราไม่สามารถให้ผลแบบนี้ได้ (ภาพเวลาฉลองการยิงประตูก็เป็นตัวอย่างที่สำคัญ ภาพมักตัดเข้าไปในกล้องตัวที่อยู่ขอบสนามมากที่สุด เพื่อให้แฟนบอลได้รู้สึกดีใจ,สะใจไปพร้อมกับนักฟุตบอลและบรรยากาศตรงนั้น -หรือกระทั่งคิดว่าตัวเองได้อยู่ตรงนั้นด้วย) เหล่านี้เป็นเทคนิคในการถ่ายทำทางภาพยนตร์ คือการใช้มุมกล้องและการตัดต่อ ด้วยเหตุนี้เองมันเลยเป็นเหตุผลทางอ้อมในการสร้างอารมณ์ร่วมให้กับคนดูซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกสัปดาห์ ในที่สุดก็เกิดผลลัพธ์บางอย่าง ก็คือแฟนบอลรู้สึกใกล้ชิดกับทีมมากกว่าความรู้สึกทางกายภาพ (จากประเทศไทยถึงอังกฤษ/ที่นั่งถึงจอโทรทัศน์) เป็นการใกล้ชิดในแง่จินตภาพ (คือจินตนาการว่าได้ใกล้ชิด,ผูกพันธ์กับเหล่าผู้เล่นภาพการใช้ขนาดภาพ/ตัดต่อ) ทั้งที่ในความเป็นจริงระยะทางระหว่างประเทศไทยกับอังกฤษก็ยังคงเท่าเดิม

ประการต่อมา การเชียร์ฟุตบอลของคนประเทศอังกฤษ กองเชียร์แท้ๆมักผูกอิงอยู่กับพื้นที่ถิ่นกำเนิดเป็นส่วนมาก อย่างเช่น เกิดที่ตำบลนี้ก็มักเชียร์ทีมประจำตำบลนี้ หรือเปลี่ยนจากตำบอลเป็นเมือง (หรือเมืองเป็นประเทศก็ตาม) เพราะตัวเขามีความรู้สึกผูกพันธ์ในแง่สายเลือดหรือความเป็นส่วนหนึ่งของท้องถิ่นนั้น การที่จะสร้างพลังกลุ่มหรือทำให้คนหมู่มากรู้สึกร่วมกันได้เร็วที่สุด คือการที่พวกเค้ามีสิ่งที่ไม่ชอบหรือเกลียดในสิ่งเดียวกัน ในที่นี้อาจหมายถึงทีมฟุตบอลที่อยู่ใกล้เคียงกัน หรือทีมฟุตบอลที่มีปัญหาเชิงประวัติศาสตร์ที่ขัดแย้งกันมา ดังนั้นเมื่อเรามาที่สนามบอลเราก็จะเจอคนที่เชียร์ทีมเดียวกัน เกลียดทีมนั้นเหมือนกัน เราก็ (น่าจะ) มีความรู้สึกที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือเราเริ่มรู้สึกผูกพันกับแฟนทีมเดียวกัน ในฐานะที่คือคนที่น่าจะเข้าใจเรามากๆ (อย่างน้อยก็ในเรื่องฟุตบอล ทั้งๆที่ในความจริงเราอาจไม่รู้จักกันเลยด้วยซ้ำ) แถมเป็นการที่มีคนเข้าใจเรานับพันนับหมื่นเสียด้วย การร้องเพลงเชียร์ไปพร้อมๆกันก็ยิ่งสร้างความแน่นแฟ้นในกลุ่มขึ้น การได้ตะโกนแขวะด่าไปพร้อมๆกับคนอื่น ก็ให้ความรู้สึกคล้ายๆกัน และสุดท้ายเราและแฟนบอลคนอื่นก็นับได้ว่าเป็นพวกเดียวกัน การด่าทอทีมฝ่ายตรงข้ามจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น (ขาดความยับยั้งชั่งใจ) เมื่ออยู่ในสนามหรือในบอร์ด ที่ซึ่งจิตใต้สำนึกเรารู้ว่ามีพวกเดียวกันอยู่มาก แล้วเรื่องขัดแย้งประมาณนี้ดูจะเบาบางถ้าหากเราทะเลาะกับเพื่อนแค่คนเดียวหรือไม่กี่คน เพราะเราขาดคนที่รู้สึกเหมือนเราจำนวนมากๆ ดังนั้นการที่จะยกให้ทีมใดทีมหนึ่งเป็นอริ เป็นภาระที่แฟนบอลทีมนั้นที่เกิดจากการตกลงอย่างหลวมๆ และจะต้องรับรู้ทั่วกันเป็นจำนวนมาก

กลับมาที่ประเทศไทย การเป็นแฟนฟุตบอลเฉยๆยังไม่อาจให้คุณค่าผูกพันกับทีมอย่างจริงๆ (เพราะไม่ได้เกิดเป็นคนในท้องถิ่นอังกฤษจริงๆ) เราจึงจำเป็นจะต้องน้อมรับเอาความคิดเดียวกับแฟนบอลที่อังกฤษ ในการร่วมจงเกลียดจงชังทีมนั้นทีมนี้ไปกับพวกเขาด้วย ทั้งๆที่เราไม่ได้มีปัญหาร่วมอะไรกับที่นั่นเลยก็ตาม แม้แต่บริบททางสังคมที่ทำให้เกิดความเกลียดชังต่างๆขึ้น เราก็ไม่เข้าใจความรู้สึกเหล่านั้น แต่เราก็ต้องเกลียดตามไปด้วยเพราะนั่นเป็นสัญลักษณ์ ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราได้เป็นแฟนบอลที่แท้จริงของทีมฟุตบอลทีมนั้นๆ ดังจะกล่าวว่า หากคุณเป็นแฟนอาเซน่อล(แม้ว่าในไทย)ก็จำเป็นจะต้องเกลียดทีมฟุตบอลทีมสเปอร์ ทั้งที่จริงๆแล้วอาจไม่มีเหตุผลใดๆเลยที่จะต้องเกลียด (เพราะไม่มีประสบการณ์ส่วนตัวใดๆเกี่ยวข้องกับจุดเริ่มต้นของความเกลียดชัง แต่อย่างที่บอกว่าก็เพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของกองเชียร์ที่แท้แบบที่อังกฤษ) มีเรื่องเล่าขำๆคือตั้งแต่เด็กๆ พี่ของผมชอบทีมสเปอร์ แต่ผมดันชอบทีมอาเซน่อล ผมไม่ยักกับเกลียดพี่ชายซึ่งเป็นแฟนบอลทีมคู่ตรงข้าม เนื่องจากผมเข้าใจว่าต้องพึ่งพาพี่อยู่ในหลายๆเรื่อง ถ้าลองเกลียดแล้วพี่มันไม่เล่นด้วยหรือมันไม่ดูแลเราก็จะเป็นการซวยมาก แต่ถ้าเป็นแฟนสเปอร์คนอื่นๆก็ยังคงความเกลียดชังตามที่ถูกปลูกฝังมา ดังนั้นการเกลียดทีมอริในหมู่แฟนบอลไทยคือการเกลียดที่เป็นไอเดีย (ซึ่งรับมา) มากกว่าการเกลียดที่ตัวตนของบุคคลจริงๆ

หลังจากที่เราผ่านสิ่งต่างๆมาจนเริ่มรู้สึกว่าเราเป็นแฟนบอลที่ไม่ต่างจากแฟนบอลที่อยู่อังกฤษแล้ว รู้สึกใกล้ชิด ดีใจเสียใจไปพร้อมกับนักเตะภายในทีมแล้ว เรารู้สึกว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมนั้นจริงๆ อย่างการที่ผลิตวัฒนธรรมการเรียกผู้จัดการทีมว่าป๋า (หรือเจ๊ ซึ่งมีนัยหมายถึงการเป็นครอบครัวเดียวกัน) ดังนั้นการเชียร์ฟุตบอลจึงไปไกลกว่านั้น มันไม่ใช่เพียงแค่การเชียร์ฟุตบอลธรรมดาอีกต่อไป แต่มันหมายถึงคุณค่าของครอบครัวๆหนึ่ง ที่มีเราเป็นสมาชิกของครอบครัวนั้น กอปรกับเมื่ออยู่ในบริบทประเทศไทย สถาบันครอบครัวถูกยกให้เป็นสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ใครอื่นจะแตะต้องมิได้ ด้วยความรู้สึกแบบนี้เราจึงโกรธแค้นและต้องการจะปกป้องเมื่อมีคนมาต่อว่าหรือด่าทอทีมที่เราเชียร์ (ซึ่งในขณะนี้แรงเทียบเท่ากับการมีคนมาด่าคนในตระกูลของคุณ)

แต่กลับกันยามใดครอบครัวของคุณได้กลายไปเป็นแชมป์ หรือก็หมายถึงการเป็นได้ผู้ชนะสูงสุดที่ต่อสู้และฝ่าฟันการแข่งขันอันยาวนาน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คุณจะเผลอคิดว่าครอบครัวของคุณดีกว่าครอบครัวคนอื่น ที่กำลังชิงในสิ่งเดียวกัน (ครอบครัวอื่นจึงมีสถานะเป็นผู้ที่มีสิทธิ์แย่งคุณค่าสูงสุดนั้นไปจากคุณ) การที่จะแสดงคุณค่าที่ตัวเองมี (ในแบบไทยๆ) ก็คือการกดทับคนที่เป็นแฟนบอลทีมอื่นเอาไว้ และบังคับให้ต้องรู้สึกด้อยกว่า ไม่แม้แต่จะทียบเคียงตนเองได้ การหยิบยกถ้วยแชมป์ (หรืออื่นๆอีกก็ตาม) มาเป็นอาวุธทิ่มแทงผู้อื่นก็เพราะมันทำให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับความรู้สึกสะใจ ที่ปกติพวกเขาไม่สามารถหาได้ในชีวิตประจำวัน

ที่ผมเขียนมาจนถึงตอนนี้ก็เพื่อที่จะอธิบายว่า ทำไมการเชียร์ฟุตบอลในประเทศไทยจึงห่างไกลจากคุณค่าที่แท้จริง เพราะถ้าหากเรานึกตามความจริง เราสามารถน้อมรับคุณค่าของสโมสรๆหนึ่งซึ่งทั้งชีวิตเราไม่เคยเห็นด้วยตาเปล่า (บางคนอาจจะบอกว่าเคยบินไปดูมา 1 นัด) มาเป็นคุณค่าของตนเองอย่างหน้าตาเฉยได้อย่างไร แถมยังใช้คุณค่านั้นทำลายแฟนบอลทีมอื่นๆที่ตนเองจงเกลียดจงชังได้อีกต่างหาก แต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่แย่เท่ากับการที่คุณไม่เฉลียวใจว่าคุณค่านั้นไม่ใช่ของคุณ เพราะตัวคุณไม่ได้ลงทุนลงแรงลงไปวิ่งในสนาม หรือกระทั่งว่าเป็นทีมงานช่วยวางแผนอันสลับซับซ้อนจนทีมได้รับชัยชนะ คุณมีฐานะเป็นกองเชียร์ทีมฟุตบอลในประเทศอังกฤษ แถมตัวคุณยังอยู่ที่ประเทศไทย แต่ก็ดันผยองใจเมื่อทีมชนะ โดยทึกทักว่าชัยชนะนั้นเป็นของตัวคุณด้วย

หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้อาจจะบอกว่าที่ผมเขียนมายืดยาวนั้นเป็นเพียงเพราะความอิจฉา ก็ดูทีมที่ผมเชียร์ มันแทบไม่เคยได้แชมป์อะไรเลย ซึ่งบางทีผมก็ต้องยอมรับว่าผมค่อนข้างอิจฉาทีมที่ได้เป็นแชมป์ แต่ก็นั่นแหละครับ อิจฉาทีมแชมป์ไม่ได้แปลว่าผมอิจฉาแฟนบอลของพวกเขาเสียหน่อย


_____________________________________________________________________

ขอบคุณที่อ่านครับ เมื่อวานเห็นมีคนโดนด่าว่าเขียนเอาหล่อบ้าง ซึ่งไม่รู้อันนี้จะโดนว่าอะไรไหม
สุดท้ายก็ขอให้มองว่าเป็นการแสดงความคิดเห็น ความคิดเห็นนึงก็แล้วกันครับ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 12265
ที่อยู่: บ้าน
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 8:08 pm
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
ขอโทษนะ สรุปให้ผมได้ไม ตัวหนังสือมันเยอะแล้วตัวมันเล็ก
0
0
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 14567
ที่อยู่: ทางช้างเผือก
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 8:12 pm
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
อ่านแต่หัวข้อคิดว่าพูดถึงฟุตบอลในประเทศ พออ่านไป3บรรทัดบอลตู้นี่หว่า
0
0



เข้าร่วม: 13 Jun 2009
ตอบ: 30090
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 8:19 pm
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
0
0
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 5012
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 8:31 pm
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
อ้างอิงจาก:
ที่ผมเขียนมาจนถึงตอนนี้ก็เพื่อที่จะอธิบายว่าทำไมการเชียร์ฟุตบอลในประเทศไทยจึงห่างไกลจากคุณค่าที่แท้จริง เพราะถ้าหากเราคิดตามความจริง เราสามารถน้อมรับคุณค่าของสโมสรๆหนึ่งซึ่งทั้งชีวิตเราไม่เคยเห็นด้วยตาเปล่า (บางคนอาจจะบอกว่าเคยบินไปดูมา 1 นัด) มาเป็นคุณค่าของตนเองได้อย่างหน้าตาเฉย แถมยังใช้คุณค่านั้นทำลายแฟนบอลทีมอื่นๆที่ตนเองจงเกลียดจงชังได้อีกต่างหาก แต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่แย่เท่ากับการที่คุณไม่เฉลียวใจว่าคุณค่านั้นไม่ใช่ของตน เพราะตัวคุณไม่ได้ลงทุนลงแรงลงไปวิ่งในสนาม หรือกระทั่งเป็นทีมงานช่วยวางแผนอันซับซ้อนจนทีมได้รับชัยชนะ คุณมีฐานะเป็นกองเชียร์ทีมฟุตบอลในประเทศอังกฤษ แถมตัวคุณยังอยู่ที่ประเทศไทย แต่ก็ดันผยองใจเมื่อทีมชนะโดยทึกทักว่าชัยชนะนั้นเป็นของตัวคุณ

หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้อาจจะบอกว่าที่ผมเขียนมาเสียยืดยาวนั้นคงเป็นเพราะผมอิจฉา ก็ดูทีมที่ผมเชียร์สิมันแทบไม่เคยได้แชมป์อะไรเลย บางทีผมก็ต้องยอมรับว่าผมค่อนข้างอิจฉาทีมที่ได้แชมป์
แต่ก็นั่นแหละครับ ไม่ได้แปลว่าผมอิจฉาแฟนบอลของพวกเขาเสียหน่อย
 

ใครขี้เกียจอ่าน อ่านแค่นี้พอครับ 8บรรทัดพอดี
เข้าร่วม: 16 Oct 2007
ตอบ: 6403
ที่อยู่: ไม่รู้
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 8:31 pm
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
0
0
สุดท้าย คนเราพบกันเพื่อลาจาก แค่นี้ใช่ไหม

เข้าร่วม: 12 Aug 2016
ตอบ: 656
ที่อยู่: บนพื้น
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 8:53 pm
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
ขนาดเป็นชอบอ่านบทความนะ เจอนี้ไปบายเลยตัวโครตเล็ก ตาลายเลย
0
0
เข้าร่วม: 24 Mar 2006
ตอบ: 10637
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 9:08 pm
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
ความเกลียดชังที่เห็นในนี้มันเป็นภาพลวงตาครับ

ที่เห็นๆพ่น hate speech แบบจะฆ่าจะแกงกันในบอร์ดนี่ เจอกันตัวเป็นๆไม่กล้าทำอะไรกันหรอก

คงต้องทำใจ เพราะในเฟส หรือเพจหนักกว่านี้อีก


ผมว่าในนี้ดีแล้วด้วยซ้ำนะ เพราะปัญญาชน คนมีสติรู้จักคิดวิเคราะห์แยกแยะได้มีสัดส่วนที่เยอะกว่า


0
0
เข้าร่วม: 12 Aug 2009
ตอบ: 1841
ที่อยู่: ที่สอนคน
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 9:09 pm
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
อ่านแล้วตาลาย แต่อ่านจบนะ ชอบครับ ตัวเล็กไปหน่อย หรือผมมีปัญหาเรื่องสายตาก็ไม่รู้ แต่สรุปเรื่องของจิต และสะท้อนวัฒนธรรมการเชียร์บอลของเราได้ดีครับ ถ้าแตกมิติในเรื่องของเพื่อนหรือสิ่งแวดล้อมที่เชียร์ต่างกัน แล้วก็อยากเอาชนะกันในเรื่องนี้ด้วย(ซึ่งอาจจะเอาชนะเรื่องอื่นไม่ได้เช่น ฐานะ ความสามารถ หน้าตา ความป๊อบ) ก็จะดีครับ รอภาคต่ออยู่นะครับ
my name is PG
P=passion
G= gentle
เข้าร่วม: 23 Aug 2009
ตอบ: 476
ที่อยู่: ถ้ำของเพลโต
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 9:24 pm
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
pg-yuki พิมพ์ว่า:
อ่านแล้วตาลาย แต่อ่านจบนะ ชอบครับ ตัวเล็กไปหน่อย หรือผมมีปัญหาเรื่องสายตาก็ไม่รู้ แต่สรุปเรื่องของจิต และสะท้อนวัฒนธรรมการเชียร์บอลของเราได้ดีครับ ถ้าแตกมิติในเรื่องของเพื่อนหรือสิ่งแวดล้อมที่เชียร์ต่างกัน แล้วก็อยากเอาชนะกันในเรื่องนี้ด้วย(ซึ่งอาจจะเอาชนะเรื่องอื่นไม่ได้เช่น ฐานะ ความสามารถ หน้าตา ความป๊อบ) ก็จะดีครับ รอภาคต่ออยู่นะครับ  


อย่างน้อยผมก็ดีใจที่มีคนอ่านจนจบ ขอบคุณมากครับ
ส่วนปัญหาเรื่องตัวเล็กตอนผมดูในจอคอมมันไม่ค่อยเล็กเท่าไหร่ เลยเพิ่งมาแก้
ประเด็นที่คุณเสนอมาก็น่าสนใจมากๆเลย ยังไงไว้แลกเปลี่ยนกันอีกนะครับ
0
0
เข้าร่วม: 23 Aug 2009
ตอบ: 476
ที่อยู่: ถ้ำของเพลโต
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 9:24 pm
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
SoCk_MaN พิมพ์ว่า:
ขนาดเป็นชอบอ่านบทความนะ เจอนี้ไปบายเลยตัวโครตเล็ก ตาลายเลย  


เพิ่งมาแก้แต่ไม่รู้ตัวใหญ่ขึ้นมั้ยครับ ตอนดูในคอมของผมมันตัวค่อนข้างใหญ่เลย
0
0
เข้าร่วม: 12 Aug 2016
ตอบ: 656
ที่อยู่: บนพื้น
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 9:30 pm
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
ALL OF AR'NAL พิมพ์ว่า:
SoCk_MaN พิมพ์ว่า:
ขนาดเป็นชอบอ่านบทความนะ เจอนี้ไปบายเลยตัวโครตเล็ก ตาลายเลย  


เพิ่งมาแก้แต่ไม่รู้ตัวใหญ่ขึ้นมั้ยครับ ตอนดูในคอมของผมมันตัวค่อนข้างใหญ่เลย  

อ่านจบละนะ ปวดตาไปบ้าง เเต่เขียนได้โอเคร ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ
0
0
เข้าร่วม: 12 Aug 2016
ตอบ: 281
ที่อยู่: WinTerFell
โพสเมื่อ: Mon Oct 24, 2016 10:28 pm
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
ไม่อ่าน ปีนี้ใช้โคต้าครบ แล้ว
0
0


เข้าร่วม: 19 Feb 2011
ตอบ: 3342
ที่อยู่: ตรัง นนทบุรี ปทุมธานี
โพสเมื่อ: Tue Oct 25, 2016 12:23 am
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
เขียนดีมากครับ ผมอ่านจบนะ เข้าใจที่เจ้าของบทความสื่อ มันเป็นแบบนั้นจริงๆ

สิ่งที่ผมรู้สึกแย่ที่สุด คือ แฟนบอลฝั่งแมนยู(บางส่วน)ในไทย ก็เอาด้วยไปล้อเลียน เหตุการณ์ฮิลส์โบโร่
ของลิเวอร์พูล 15 เมษายน 1989 (ผมอายุตอนนั้น 2 ขวบ )

และอีกเหตุการณ์ โศกนาฏกรรมเครื่องบินตกที่มิวนิค 1958 ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่าทำไมต้องทำถึงขนาดนั้น ล้อเลียนคนตายนี่นะ เอิ่ม
เชียร์แมนยู ตั้งแต่ 2004 นะจ๊ะ ยุคแพ้บ่อยๆตอนดวลกับเชลชียุคมู 1,รับซ่อมมือถือ htc เปลี่ยนบอดี้ จอแตก สนใจทักได้
เข้าร่วม: 09 Oct 2005
ตอบ: 11508
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Tue Oct 25, 2016 3:29 am
[RE: คุณค่ากับการเขียร์ฟุตบอลในประเทศไทย]
อ่านแล้วไม่น่าจะเกี่ยวนะ ความนิยมของบอลไทยน่าจะเป็นที่ฐานการปลุกปั่น ที่ขาดช่วงการทำนักเตะให้เห็นภาพลักษณ์เป็นสตาร์
หรือที่เราคุ้นหูว่า ดรีมทีม และกระแสแอนตี้นายก มาตราฐานคุณภาพลีคก็ไม่ได้ปลูกฝังและต่อยอดให้ดูเหมือนปัจจุบัน
เพราะส่วนตัวจริงๆ ไม่ค่อยอยากดูบอลไทย
เคยลองจะติดตามดูแล้วมันก็ไม่แนวอ่ะ

จะให้วิเคราะห์เหตุด้านความผูกพัน ยิ่งสัมผัสถึงใจถึงอารมณ์ด้วยก็แค่เฉพาะทีมชาติ
แต่ให้ยอมมาดูบอลลีค หรือตามสโมสรบ้านเกิด
คงอยู่ที่สิ่งชักนำว่า ทำไมถึงน่าดู ทำไมต้องติดตาม
จะต้องมีคนรู้จักเป็นนักเตะด้วยไหมก็คงอีกประเด็นนึง

แต่ถ้าเข้าเรื่องบอลนอก ก็อยู่ที่สิ่งชักนำนั้นละ ความนิยม ความสนุก ประวัติ ความถูกชะตา
ซึ่งจริงๆ ประวัติ มันก็สำคัญมากต่อการชักนำนะ ตรงนี้ทางเราก็น่าจะอ่อนด้วย
พอเกิดการถากถาง อันนี้ก็อยู่ที่วุฒิภาวะละ ซึ่งจริงๆบอลไทยมันก็ต้องมีละ
ลองดูเหตุการณ์ทีมชาติไทย เสียเปรียบ หรือถูกโกง กรรมการตัดสินไม่ถูกใจดิ
เกรียนคีย์บอร์ดจะนำสู่ให้ดูเลย

สีสันมันถูกปรุงแต่ง ทั้งจากผู้จัดการทีม และนักเตะ ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าไทยไปถึงไหนละนะ
แต่คิดว่าผู้จัดการทีม หรือเจ้าของสโมสร มันน่าจะอ่อนไป มันต้องสร้างภาพความรุนแรง แบบเนวินให้คนติดตาม
นักเตะก็ได้แฟนสวย ผมก็ไม่ดูนักเตะหรอกว่ามันเล่นยังไง จะดูรูปคู่กับแฟน หรือตัวแฟนเสียมากกว่า ถ้ามีคนลงให้ดู
สีสันจากความแรงของแฟนบอล ก็เป็นอีกส่วนที่ทำให้ระอา

ผมพูดเรื่องคุณค่านะ เรื่องแชมป์ไม่เกี่ยว