ผู้ตั้ง
ข้อความ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 9415
ที่อยู่: Bangkok
โพสเมื่อ: Fri Sep 23, 2016 1:55 pm
[บทความ-แปล]ประเทศเยอรมันทำอย่างไรกับการสร้างเหล่านักเตะใหม่ๆขึ้นมามากมาย?
จากกระทู้ที่เกี่ยวกับนายกสมาคมฟุตบอลไทยประกาศว่าจะรื้อระบบเยาวชนใหม่ วางแผนสร้างการฝึกซ้อมซึ่งมีการรวบรวมเด็กมาฝึกและกินนอนซ้อมด้วยกัน

และก็มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผมเลยเอาบทความที่ผ่านการแปลที่ไปเจอมาฝากเพราะเห็นว่ามีบางส่วนที่น่าจะทำให้แฟนบอลหลายคนได้เข้าใจถึงการวางแผนและพัฒนาเยาวชนของหนึ่งในมหาอำนาจฟุตบอลในยุคสมัยนี้

ต้นทาง(แปล) >> http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php/topic,376016.0.html
ต้นฉบับ >> https://www.theguardian.com/football/2013/may/23/germany-bust-boom-talent


************************

How Germany went from bust to boom on the talent production line
ประเทศเยอรมันทำอย่างไรกับการสร้างเหล่านักเตะใหม่ๆขึ้นมา จากจุดที่ตกต่ำที่สุดจนมาสู่ความสำเร็จ!

Nation that suffered an embarrassing Euro 2000 now boasts both Champions League finalists thanks to a system that values coaches and nurtures indigenous talent
ทีมชาติที่เคยตกต่ำสุดขีดกับการแข่งขันยูโร 2000 แต่ ณ ตอนนี้สามารถอวดชวดโลกด้วยการมีทีมจากเยอรมันเข้าไปตัดเค้กถ้วยยูฟ่า แชมป์เปี้ยนส์ ลีค กันเอง ต้องขอบคุณระบบที่ให้ความสำคัญกับบรรดาโค้ชทั้งหลาย และบ่มเพาะพัฒนานักเตะเยอรมันของตนเอง



เซบาสเตียน เคิรก นักเตะสังกัดเอสซี ไฟรบวร์ก วัย 19 (คนซ้าย) สามารถแสดงฝีเท้าได้ดีและเป็นที่ประจักษ์ในนัดที่เตะกับชาลเก้ โดยนัดนี้ของเค้าเป็นการลงเล่นนัดแรกให้กับชุดใหญ่

Robin Dutt has a lovely problem on his hands. Sat in his office in Frankfurt, the man who replaced Matthias Sammer as the sporting director at the German Football Association last August, taking on responsibility for the development of young players and coaches, doubts there is any room for improvement. "We are at the top level and it's difficult to go above that," Dutt says. "If we are in the year 2000 and we are at the bottom it is OK. But nobody sees anything wrong here."
โรบิ้น ดัทท์ มีปัญหาที่ต้องให้ยิ้มแน่ๆ นั่งทำงานในออฟฟิสที่เมืองแฟร้งค์เฟิร์ต ชายผู้ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งต่อจาก แมทเธียดส์ แซมเม่อร์ ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายการกีฬาของสมาคมฟุตบอลเยอรมันเมื่อเดือนสิงหาคมที่แล้ว โดยมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการพัฒนานักเตะเยาวชน และโค้ช ตัวเค้าเองกังวลว่ามันจะไม่มีช่องว่างอะไรให้เค้าพัฒนาปรับปรุงแล้วนะซิ ดัทท์กล่าวว่า “ตอนนี้เราอยู่ในระดับมาตรฐานที่สูงสุด และมันก็ยากมากที่จะทำให้เราไปสูงกว่านี้” ถ้าหากว่าเรากำลังพูดกันอยู่ในยุคปี ค.ศ. 2000 และเราอยู่ในระดับที่ต่ำสุด อันนั้นแหละถึงจะมีอะไรให้ปรับปรุงแก้ไขเยอะ แต่ ณ ตอนนี้ทุกอย่างมันดีหมด ก็อย่างที่คุณเห็น

A decade or so after the DFB travelled the world in search of best practice, Dutt smiles at the irony that other nations are coming to them for advice these days. Dan Ashworth, the Football Association's newly appointed director of elite development, was among recent visitors, spending three hours with Dutt, the former Bayer Leverkusen and SC Freiburg coach, in a meeting that must have been enlightening.
ซักเมื่อสิบปีที่แล้วหรือมากกว่านั้นหน่อยนึง ที่ทางสมาคมฟุตบอลเยอรมันได้เดินทางไปทั่วโลกเพื่อค้นหาสูตรพัฒนาที่ดีที่สุด แต่ ณ ตอนนี้กลับเป็นชาติอื่นๆต้องเดินทางมาหาเราเพื่อขอคำแนะนำ มร.ดัทท์ยิ้มให้กับความน่าประหลาดใจนี้ คุณ แดน แอชเวิร์ธ ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนานักเตะที่มีพรสวรรค์ของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่มาเยี่ยมเยือนในช่วงเร็วๆนี้ โดยใช้เวลาอยู่กับคุณดัทท์, อดีตนักเตะเบเย่อร์ เลเวอร์คูเซ่น และอดีตโค้ชเอสซี ไฟรบวร์ก ถึงสามชั่งโมง ซึ่งน่าจะเป็นสามชั่วโมงของการพบปะกันที่เป็นประโยชน์กับเค้ามาก

German football is booming, reaping the rewards of the strategy drawn up after their dismal performances at Euro 2000, when Germany finished bottom of their group. Forced into an overhaul of youth football, the DFB, the Bundesliga and the clubs decided that the development of more technically proficient homegrown players would be in everyone's best interests. This led to the creation of academies right across the top two divisions.
ฟุตบอลเยอรมันกำลังอยู่ในช่วงที่บู้มสุดๆ และกำลังเก็บเกี่ยวผลที่ได้วางแผนเอาไว้ หลังจากผลงานอันน่าผิดหวังในฟุตบอลยูโรปี 2000 ซึ่งตอนนี้ทีมเยอรมันจบบ๋วยของกลุ่ม และนั้นก็เป็นเหตุให้มีการสังคยนาฟุตบอลระดับเยาวชนกันใหม่หมด ทั้งสมาคมฟุตบอลเยอรมัน ตัวลีคบุสเดสลิก้าเอง และสโมสรต่างๆ ตัดสินใจว่าการพัฒนานักเตะให้มีทักษะที่ยอดเยี่ยมเองนั้น น่าจะเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน นั้นนำไปสู่การเกิดขึ้นของอะคาเดมี่ของสโมสรต่างๆในลีคบนและลีครอง

The fruits are there for all to see. Joachim Löw, Germany's coach, is blessed with a generation of gifted young players – Julian Draxler (19), Andre Schürrle (22), Sven Bender (24), Thomas Müller (23), Holger Badstuber (24), Mats Hummels (24), Mesut Ozil (24), Ilkay Gundogan (22), Mario Götze (20), Marco Reus (23), Toni Kroos (23) … the list goes on – and Dutt says there are more coming through in the under-21 side who will travel to Israel for the European Championship next month.
ผลลัพธ์ก็อย่างที่เห็น โยคิม เลิฟ, โค้ชทีมชาติเยอรมัน, โชคดีมากที่มีนักเตะเก่งๆหนุ่มๆให้เลือกใช้งานเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Julian Draxler (19), Andre Schürrle (22), Sven Bender (24), Thomas Müller (23), Holger Badstuber (24), Mats Hummels (24), Mesut Ozil (24), Ilkay Gundogan (22), Mario Götze (20), Marco Reus (23), Toni Kroos (23) … ลิสท์ยาวเป็นหางว่าว และคุณดัทท์ยังกล่าวอีกว่านี้ยังไม่หมดนะ เรายังมีนักเตะชุด U21 ที่มีโอกาสแจ้งเกิดในรายการชิงแชมป์ยุโรป ที่จะจัดขึ้นที่อิสราเอลเดือนหน้าอีกด้วย

As for Saturday's Champions League final at Wembley, the DFB proudly points out that 26 of the players Bayern Munich and Borussia Dortmund named in their Uefa squads this season are homegrown and eligible to play for Germany. More than half of those players came through the DFB's talent development programme, which was introduced in 2003 with the aim of identifying promising youngsters and providing them with technical skills and tactical knowledge at an early age. Covering 366 areas of Germany, this impressive initiative caters for children aged 8 to 14 and is served by 1,000 part-time DFB coaches, all of whom must hold the Uefa B licence and are expected to scout as well as train the players. "We have 80 million people in Germany and I think before 2000 nobody noticed a lot of talent," Dutt says. "Now we notice everyone."
นัดชิงถ้วยแชมป์เปี่ยนส์ ลีค เสาร์นี้ที่สนามเวมบลี สมาคมฟุตบอลเยอรมันแย้มอย่างภาคภูมิใจว่า นักเตะของทั้งบาเยิร์น และ โบรุสเซีย จำนวนถึง 26 คนที่มีชื่อลงเล่นในถ้วยนี้สำหรับฤดูกาลนี้ เป็นผลผลิตภายในประเทศและสามารถรับใช้ชาติได้ด้วย โดยครึ่งนึงเป็นนักเตะที่มาจากโปรแกรมการพัฒนานักเตะพรสวรรค์ของสมาคมเอง ที่ได้เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2003 เพื่อที่จะช่วยในการระบุค้นหาเหล่านักเตะเยาวชนฝีเท้าดี และค่อยสนับสนุนพวกเค้าในเรื่องของการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านเทคนิคตั้งแต่อายุยังเด็ก โปรแกรมนี้ครอบคลุมกว่า 366 พื้นที่ในเยอรมัน และการเริ่มต้นครั้งนั้นก็ได้พัฒนานักเตะเยาวชนอายุตั้งแต่ 8 ถึง 14 ปี โดยมีโค้ชแบบพาร์ท ไทม์ของสมาคมคอยฝึกสอน ซึ่งโค้ชทุกคนต้องถือไลเซ่นส์อย่างต่ำในระดับ Uefa B อีกทั้งโค้ชเหล่านี้ไม่เพียงแต่ฝึกสอนเท่านั้น แต่ยังต้องสเก๊าท์ให้สมาคมด้วย “เรามีประชากรถึง 80 ล้านคนในเยอรมัน และผมคิดว่าตอนนั้นช่วงก่อนปี ค.ศ. 2000 ไม่มีใครเห็นนักเตะช้างเผือกเหล่านี้หรอก” คุณดัทท์กล่าว “ตอนนี้เราเห็นทุกคน”

Some youngsters attending the development programme are already affiliated with professional clubs but others may be only turning out for their local junior side, which means the weekly DFB sessions are also a chance for Bundesliga teams to spot players.
นักเตะเยาวชนที่มาร่วมเข้าโปรแกรมกับเรานั้นบางรายก็มีสังกัดสโมสรอาชีพอยู่แล้ว แต่บางรายก็เป็นเพียงนักเตะระดับเยาวชนของสโมสรระดับท้องถิ่นเท่านั้น ซึ่งนี้หมายความว่าการฝึกของสมาคมในแต่ละสัปดาห์นั้นจะเปิดโอกาศให้สโมสรในระดับบุสเดสลิก้าได้มาค้นหานักเตะเยาวชนฝีเท้าดีเข้าสโมสรเช่นกัน

It is the opposite of what happens in England, where the FA relies on clubs to develop youngsters. Dutt smiles when it is suggested to him that the DFB are doing the clubs' recruitment for them. "But if we help the clubs, we help us, because the players of our national teams – the youth teams and Joachim Löw's team – come from the clubs," he says.
ซึ่งนี้มันต่างกันกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเกาะอังกฤษ โดยสมาคมฟุตบอลอังกฤษเองนั้นต้องพึ่งพาเหล่าสโมสรต่างๆในการพัฒนานักเตะระดับเยาวชน คุณดัทท์ยิ้มเมื่อมีคนเอ่ยกับเค้าว่าสมาคมฟุตบอลเยอรมันทำหน้าที่คัดเด็กให้กับเหล่าสโมสรต่างๆซะเอง “แต่เมื่อเราช่วยเหลือสโมสรต่างๆ นั้นหมายความว่าผลที่จะได้กลับมาคือเราช่วยเหลือชาติเราเอง เพราะว่านักเตะทีมชาติของเรา – ทีมเยาวชนของเรา ทีมที่โยคิม เลิฟ คุมอยู่ ก็มาจากสโมสรทั้งนั้น.” คุณดัทท์กล่าว

The incredible depth of Germany's coaching resources, as well as the DFB's close relationship with Bundesliga clubs, helps to make the programme. According to Uefa, Germany has 28,400 (England 1,759) coaches with the B licence, 5,500 (895) with the A licence and 1,070 (115) with the Pro licence, the highest qualification. It is little wonder that Ashworth said last month that there will be no quick fix for English football. The country that invented the game has forgotten that we need people to teach it.
ด้วยบุคลากรที่พร้อมเพียงของเยอรมัน และความสัมพันธ์อันดีของสมาคมกับสโมสรต่างๆในบุสเดสลิก้า ทำให้โปรแกรมนี้เกิดขึ้นได้ โดยอ้างอิงจากสหพันธ์ฟุตบอลแห่งยุโรป ประเทศเยอรมันมีโค้ชระดับ B ไลเซ่นถึง 28,400 คน (อังกฤษมี 1,759 คน) และโค้ชระดับ A ไลเซ่น จำนวน 5,500 คน (อังกฤษมี 895 คน) ท้ายสุดไลเซ่นระดับสูงสุด Pro ไลเซ่น เยอรมันมีถึง 1,070 คน (อังกฤษมี 115 คน) มันค่อนข้างน่าฉงนทีเดียวที่คุณแอชเวิร์ธกล่าวกับผมเดือนที่แล้วว่า คงยังไม่มีอะไรทำให้ฟุตบอลอังกฤษดีขึ้นแบบข้ามคืนได้ มันต้องใช้เวลา ประเทศที่เป็นต้นกำเนิดเกมส์ฟุตบอลคงลืมไปว่าเราจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความสามารถในการฝึกสอน

For Germany, post-Euro 2000 was about changing philosophies as well as employing more full-time coaches and upgrading facilities. The DFB wanted to move away from playing in straight lines and relying on "the German mentality" to win matches. Instead coaches focused on developing fluid formations that required the sort of nimble, dexterous players who would previously have been overlooked because of their lack of physical strength.
สำหรับเยอรมันเอง หลังจากยุคตกต่ำช่วงปี 2000 ในศึกยูโร พวกเราโฟกัสไปที่ทัศนคติแบบแผน และการจ้างโค้ชแบบประจำเวลา รวมไปถึงการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่ฝึกต่างๆ สมาคมฟุตบอลเยอรมันต้องการที่จะเปลี่ยนตัวเองจากการเล่นแบบทื่อๆแข็งๆ และพึ่งเพียงความคิดแบบคนเยอรมันว่าต้องชนะ ต้องชนะ กลับกับเราต้องการให้โค้ชเน้นไปที่เรื่องของการพัฒนารูปแบบการเล่นที่ลื่นไหล โดยต้องอาศัยนักเตะที่มีความรวดเร็วคล่องแคล่ว ซึ่งสมัยก่อนนักเตะประเภทนี้ถูกมองข้ามเพราะพวกเค้าไม่แข็งแกร่งหรือสูงใหญ่



นักเตะเยาวชนที่ฝึกที่อะคาเดมี่ของสโมสรไฟรเบิร์ก

"In the past there were a lot of big players. But look at our players now," Dutt says. "You realise that an important thing for a football player is technique and then the height of the player, ordinarily, will be small. [Diego] Maradona, [Andrés] Iniesta, Xavi – all little players. In the defence we think we need big players. Mats Hummels is big but he is very good with the ball. In 1982 Mats Hummels wouldn't have played in defence, he would have played at No10. In the 1970s, [Franz] Beckenbauer was playing football and [Hans-Georg] Schwarzenbeck was running after the English players – if he got the ball he gave it to Beckenbauer and the job was done. But now Schwarzenbeck is Hummels, and Hummels plays like Beckenbauer and Schwarzenbeck."
“ในอดีตเรามีนักเตะสูงใหญ่จำนวนมากมาย แต่คุณลองมองดูตอนนี้ซิ” คุณดัทท์กล่าว “คุณตระหนักว่าสิ่งสำคัญสำหรับการเป็นนักฟุตบอลคือ เทคนิค รองมาเป็นความสูงของนักเตะ โดยทั่วๆไปแล้วพวกเค้าจะตัวเล็ก ดีเอโก้ มาราดอนน่า, อังเดรส อินเนสต้า, ซาบิ – พวกเค้าตัวเล็กทั้งนั้น ส่วนในแผงกองหลังนั้นเราคิดว่ามันจำเป็นต้องมีนักเตะที่ตัวสูงใหญ่ แมท ฮุมเมลส์ ตัวใหญ่ แต่ไปกับบอลได้ดี ถ้าหากย้อนไปในปี 1982 แมท ฮุมเมลส์ คงไม่มีทางที่จะเล่นในตำแหน่งกองหลังหรอก นู้นเลยคงไปใส่เสื้อหมายเลข 10 ในยุค 1970’s ฟรานซ์ แบคเคนบาวเออร์ เป็นคนทำเกมส์ และ ฮาน-จอร์จ ชวาเซนเบควิ่งไล่นักเตะอังกฤษ ถ้าเค้าได้บอลก็ส่งกลับให้เบคเคนบาวเออร์ หน้าที่ของเค้าจบ แต่ตอนนี้ชวาเซนเบคคือฮุมเมลส์ และฮุมเมลส์เล่นได้แบบเบคเคนบาวเออร์และชวาเซนเบคในคนๆเดียวกัน”

If one club has led the way when it comes to producing young players in Germany it is Freiburg, who have won the German equivalent of the FA Youth Cup four times in the past seven years. Their 25-man first-team squad consists of 10 homegrown players, six of whom started in the 2-1 defeat against Schalke last Saturday, when Freiburg needed to win to pull off the unimaginable and qualify for the Champions League. Beckenbauer was among those who travelled to Freiburg's Mage Solar Stadion hoping to see history made.
ถ้าหากจะมีสโมสรไหนสโมสรหนึ่งในเยอรมันที่ขึ้นชื่อเรื่องการฝึกนักเตะเยาวชนละก็ คงหนีไม่พ้นสโมสรไฟรบวร์ก ซึ่งพวกเค้าเป็นแชมป์ FA Youth Cup ของเยอรมันถึง 4 ครั้งด้วยกัน ในช่วงเวลา 7 ปีที่ผ่านมา รายชื่อ 25 คนในทีมชุดใหญ่ของพวกเค้าประกอบไปด้วยนักเตะที่เลื่อนขึ้นมาจากระดับเยาวชนของสโมสรเองถึง 10 คน และมีถึง 6 คนที่ได้ออกสตาร์ทตัวจริงในเกมส์ที่พบกับชาลเก้ ก่อนที่จะแพ้ไปในสกอร์ 2-1 เมื่อเสาร์ที่แล้ว ซึ่งไฟร์บวร์กเองนั้นหวังที่จะเก็บชัยชนะเพื่อหลุดเข้าไปเล่นแชมป์เปี่ยนส์ ลีค คุณเบคเคนบาวเออร์เองก็เป็นหนึ่งในผู้ชมที่เดินทางมาที่สนาม Mage Solar ของไฟร์บวร์กเพื่อที่จะเห็นการสร้างประวัติศาสตร์ครั้งนี้



โค้ชของไฟร์บวร์ก

"Before in Germany, if you played in the Bundesliga for a few years, clubs said: 'We'll take them to manage the under-17s.' But they had no education to be a coach. Sometimes the same thing happens in England – I saw this. On the pitch these players played very well but that doesn't mean they're a coach, and now this changes in Germany. And then under-15, under-17 and under-19 coaches, they gave them a salary so they could do this work full time. Coaches came from university, who had studied sport, they mixed it up and then it got better."
“ถ้าหากเป็นเมื่อก่อนในเยอรมัน ถ้าคุณเล่นในระดับบุสเดสลิก้าซักสามสี่ปี บรรดาสโมสรก็จะพูดชักชวน “เราจะให้พวกเค้าคุมเด็กชุด U17.” แต่นักเตะเหล่านี้ไม่มีความรู้ในการเป็นโค้ช บางครั้งนี้อาจจะเป็นสิ่งเดียวกันที่กำลังเกิดขึ้นกับอังกฤษ – ผมเห็นมันกับตา บนสนามพวกเค้าเป็นนักเตะที่ดี เล่นได้เยี่ยม แต่ว่านั้นไม่ได้หมายความว่าพวกเค้าจะเป็นโค้ชได้ และเราเปลี่ยนจุดนี้แล้วในเยอรมัน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโค้ชเยาวชนชุด U-15, U17 หรือ U19 เราให้เงินเดือนพวกเค้า จ้างเค้าทำงานแบบประจำ เต็มที่ โค้ชพวกนี้ต้องจบจากมหาลัย เอาที่จบด้านกีฬาโดยมาทำ พวกเค้าผสมผสานประสบการณ์และความรู้จากวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ให้เข้ากัน และทำให้มันดีขึ้น







******************************************
มุมองส่วนตัว

อันที่จริงในอังกฤษเองก็มีระบบคล้ายกับที่เยอรมันทำนะครับ แต่อาจมีการวางแผนพัฒนาที่แตกต่างกันสังเกตได้จากเยอรมันซึ่งเป็นต้นแบบของเจลีคนั้นจะให้ความสำคัญไปที่คุณภาพของผู้ฝึกสอน ไม่ใช่ว่าเคยเป็นนักเตะดังแล้วจะมาเป็นโค้ชได้เพราะคุณมีประสบการณ์เป็นนักฟุตบอลก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นผู้ฝึกสอนที่ดี ซึ่งจากบทความจะเห็นได้ชัดเจนว่าต้องเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกฝนอบรมจึงจะสามารถทำงานร่วมกับเยาวชนได้

แม้ว่าไทยลีคเราจะลอกโมเดลมาจากพรีเมียร์ลีค เนื่องจากนายกสมาคมฟุตบอลในสมัยนั้นค่อนข้างจะมีความสัมพันธ์กับทางอังกฤษที่ดี แต่ผมก็ยังคาดหวังว่าเราจะยึดถือวิธีการพัฒนาจากลีคเยอรมันซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นลีคที่มีคุณภาพที่สุดในยุคนี้มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาลีคภายในประเทศซึ่งจะส่งผลไปสู่ระบบทีมชาติในอนาคต

บางทีเราคงต้องย้อนกลับไปมองว่าทัศนคติและความเชื่อที่มีในวงการฟุตบอลไทย ซึ่งหวังพึ่งพาแต่บรรดาสโมสรใหญ่ๆให้คัดเลือกเยาวชนเข้ามาเพียงฝ่ายเดียว มันอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเสมอไป

บางทีปลายทางของฟุตบอลไทยอาจกลายเป็นโมเดลแบบอังกฤษหมายเลข 2 มันจะดีกว่าหรือไม่ที่เราจะหันมามองและคัดลอกรูปแบบโครงสร้างจากชาติที่ประสบความสำเร็จในการสร้างเยาวชนที่มีความสามารถในวงการฟุตบอล

ปล. จากข้อมูลของปี 2015 ญี่ปุ่นที่ลอกโมเดลของเยอรมันไปใช้มีจำนวนโค้ชทุกรูปแบบและทุกไลน์เซ็นต์จำนวนไม่น้อยกว่า 150,000 คนนะครับ (โค้ช / โค้ชประตู / แมวมอง) ในขณะที่ประเทศไทยนั้นมีโค้ชอยู่ราว 300 คน
เข้าร่วม: 14 Feb 2014
ตอบ: 851
ที่อยู่: 221b Baker Street, London
โพสเมื่อ: Fri Sep 23, 2016 2:31 pm
[RE: [บทความ-แปล]ประเทศเยอรมันทำอย่างไรกับการสร้างเหล่านักเตะใหม่ๆขึ้นมามากมาย?]
0
0

เข้าร่วม: 28 Dec 2007
ตอบ: 7463
ที่อยู่: สนามกีฬากลาง
โพสเมื่อ: Fri Sep 23, 2016 3:02 pm
[RE: [บทความ-แปล]ประเทศเยอรมันทำอย่างไรกับการสร้างเหล่านักเตะใหม่ๆขึ้นมามากมาย?]
มันไม่ง่ายนะจ๊ะ พูดถึงเรื่องว่าจะให้ไม่มีเส้นสาย ดูกันที่ความสามารถนี่
0
0
เข้าร่วม: 23 Aug 2008
ตอบ: 728
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 23, 2016 3:36 pm
[RE: [บทความ-แปล]ประเทศเยอรมันทำอย่างไรกับการสร้างเหล่านักเตะใหม่ๆขึ้นมามากมาย?]
ผมสรุป ได้ว่า เราต้องเริ่มจากการพัฒนา ผู้ฝึกสอน ถ้าได้คนที่มีความรู้ เยอะๆกระจายสอนได้ทั้งประเทศ การสอนที่ถูกหลัก จะทำให้เด็กพัฒนาถูกทาง

สิ่งที่เป็นตอนนี้คือครูพละแต่ละโรงเรียน เป็นผู้ฝึกสอนเด็ก
และสอนแบบงูๆปลาๆไม่มีความรู้ฟุตบอลจริงจัง พื้นฐานไม่ได้ พอถึงจุดหนึ่งมันก็จะตัน และไม่สามารถพัฒนาต่อได้

นั้นคือที่สงสัยกันว่าทำไมเด็กไทยตอนเด็กๆเก่ง แต่พออายุมากขึ้นมันพัฒนาต่อไม่ได้ เพราะพื้นฐานไม่ดีพอ
0
0
เข้าร่วม: 30 Dec 2008
ตอบ: 11461
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 23, 2016 4:27 pm
[RE: [บทความ-แปล]ประเทศเยอรมันทำอย่างไรกับการสร้างเหล่านักเตะใหม่ๆขึ้นมามากมาย?]
คงต้องประสานงานกับพวกโรงเรียนพละ แล้วก็ครูพละทุกคน รวมถึงโค้ชในระดับอคาเดมี่ ให้เข้าอบรบไลเซ่นให้หมด แต่คงใช้เวลาหน่อยกว่าจะออกดอกออกผล
0
0

เข้าร่วม: 31 Oct 2013
ตอบ: 530
ที่อยู่: ดาวเนปจูน
โพสเมื่อ: Fri Sep 23, 2016 4:29 pm
[RE: [บทความ-แปล]ประเทศเยอรมันทำอย่างไรกับการสร้างเหล่านักเตะใหม่ๆขึ้นมามากมาย?]
ฝู้ฝึกสอนสำคัญมากๆ
0
0
เข้าร่วม: 23 Nov 2014
ตอบ: 4220
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 23, 2016 9:16 pm
[RE: [บทความ-แปล]ประเทศเยอรมันทำอย่างไรกับการสร้างเหล่านักเตะใหม่ๆขึ้นมามากมาย?]
อาจจะไม่ถูกทั้งหมด แต่ผมว่าเด็กไทยที่จะเป็นนักบอล เอาฟุตบอลเลี้ยงตัวเป็นอาชีพต้องคำนึงหลายๆอย่างต้องมุ่งมั่นทุ่มเทกว่านี้ แต่พูดแบบนี้ก็ไม่ได้เพราะฟุตบอลไทย(ลีคไทย)เพิ่งตั้งไข่ได้ไม่นาน คงต้องรอยุคเจนฯหน้าอีก10-20ปีค่อยว่ากัน(บางทีกว่าจะถึงวันนั้นลีคไทยอาจจะยุบไปแล้วก็ได้)


ปล.เด็กไทยบางคนอ่านะ แค่รู้ว่าอนาคตข้างหน้าต้องมีงานทำ และจะมีงานต้องมีความรู้ ก็ยังไม่ค่อยสนใจจะเล่าเรียนกันเลย แล้วจะนับไปใยกับคำว่า" ฟุตบอลเลี้ยงชีพ"
0
0
เข้าร่วม: 05 Dec 2015
ตอบ: 6673
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 23, 2016 9:46 pm
[RE: [บทความ-แปล]ประเทศเยอรมันทำอย่างไรกับการสร้างเหล่านักเตะใหม่ๆขึ้นมามากมาย?]
ถ้าทำได้อย่างเยอรมัน คงทำให้ไทย สู้ระดับเอเชียได้สบาย ได้เล่นระดับโลกบ่อยๆ ส่งนักเตะออกเป็นว่าเล่น


แต่ถ้า เลิกใช้เส้นสาย ได้นะ แถบอาเซียน เราก็ชนะได้สบายๆเช่นกัน อาจจะเฉียดระดับเอเชีย ซะด้วยซ้ำ
0
0