ผู้ตั้ง
ข้อความ
เข้าร่วม: 01 Jun 2016
ตอบ: 855
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Sep 19, 2016 3:17 pm
ผลงานที่ฝังใจที่สุด

*สำคัญที่คลิป6นาทีนี้ครับ ใครที่รู้สึกท้อจะกลับมามีไฟอีกครั้ง

จิตรกรรมฝาผนังร่วมสมัย : วัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน

ผมได้กล่าวถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทยแบบโบราณไปถึง ๔ ตอน ๔ วัดแล้ว ดังนั้น เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นถึงพัฒนาการงานจิตรกรรมฝาผนังของไทย ที่ต่อยอดจากของเดิมมาสู่ยุคปัจจุบันนั้นว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร โดยจะขอยกตัวอย่างวัดไทยในต่างแดนที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก คือ วัดพุทธปทีป (มีถนนดีครับ... วิ่งจากสุพรรณไปลอนดอนเลย ๕๕๕)

วัดพุทธปทีปเป็นวัดไทยวัดแรกที่จัดตั้งขึ้นในทวีปยุโรป โดยมูลนิธิวัดพระพุทธศาสนา ณ กรุงลอนดอน ด้วยความมุ่งหวังว่าจะให้เป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป ทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

วัดนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่แรกตั้งใน พ.ศ. ๒๕๐๘ สมัยเมื่อยังอยู่ที่ถนนไครสต์เชิร์ช เขตริชมอนต์ กรุงลอนดอน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๙ วัดพุทธปทีปได้ย้ายมาอยู่ที่ถนนคาร์โลนน์ ตำบลวิมเบิลดันพาร์คไซด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน ด้วยความร่วมมือของรัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย มูลนิธิฯ ได้จัดสร้างอุโบสถ ซึ่งเป็นพุทธาวาสที่จำเป็นสำหรับวัดขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมไทย และมีการทำพิธีผูกพัทธสีมาเพื่อให้เป็นวัดที่สมบูรณ์ตามประเพณีไทย เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ทำให้วัดพุทธปทีปเป็นวัดที่สมบูรณ์แบบวัดเดียวที่สร้างขึ้นในทวีปยุโรป



ตั้งแต่แรกตั้งมาจนถึงปัจจุบัน วัดพุทธปทีปได้ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติ ทั้งในกรุงลอนดอนและเมืองชั้นนอก ตลอดจนในเมืองต่างประเทศ เช่น เยอรมันตะวันตก เนเธอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ วัดพุทธปทีปจึงเป็นแหล่งศึกษาอบรมพระพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งในยุโรป หนังสือพิมพ์ในกรุงลอนดอนฉบับหนึ่งถึงกับกล่าวในระหว่างที่พิพิธภัณฑ์อังกฤษจัดนิทรรศการศิลปะ และความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ว่า ที่จะเข้าถึงพระพุทธศาสนานั้นไม่ต้องไปไกลถึงไหนดอก แค่พิพิธภัณฑ์อังกฤษและวัดพุทธปทีปก็น่าจะเพียงพอแล้ว

มูลนิธิวัดพระพุทธศาสนา ณ กรุงลอนดอน ได้เพียรเสาะหาจิตรกรอาสาสมัครฝีมือดีมาเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นเวลาประมาณ ๒ ปี แต่ก็ไม่สามารถจะหาได้ อย่างไรก็ตาม ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้มีจิตรกร ๓ คน แสดงความจำนงกับมูลนิธิฯ ขออาสาเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดพุทธปทีป พร้อมกับผู้ช่วยอาสาสมัครอีก ๒ คนโดยไม่คิดค่าจ้าง ขอแต่ให้มูลนิธิฯ จัดอาหารและเครื่องมือเครื่องใช้ในการเขียนภาพให้เท่านั้น จิตรกรทั้ง ๓ คือ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ปัญญา วิจินธนสาร และปาง ชินะสาย


เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ผู้วาดโครงสร้างภาพนิพพาน ไตรภูมิ


ปัญญา วิจินธนสาร
ผู้วาดโครงสร้างภาพประสูติ และตรัสรู้

เมื่อได้มีการปรับปรุงผนังอุโบสถให้เหมาะสมกับการเขียนภาพแล้ว การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดพุทธปทีปก็ได้เริ่มขึ้น ในชั้นแรกมีผู้ช่วย ๒ คน ต่อมาเพิ่มเป็น ๔ คน ๑๐ คน และ ๑๕ คน ตามลำดับ จิตรกรผู้ช่วยนั้นล้วนอาสาสมัคร ไม่มีค่าจ้าง และไปจากประเทศไทยทั้งสิ้น บางคนก็เป็นเพื่อนหรือถ้าไม่ใช่เพื่อนก็เป็นศิษย์ของเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์และปัญญา วิจินธนสาร การทำงานจึงราบรื่นโดยตลอด ส่วนใหญ่ได้ช่วยเขียนภาพอยู่ประมาณคนละ ๑ ปี เมื่อครบ ๑ ปี ก็เดินทางกลับประเทศไทย ซึ่งต้องหาอาสาสมัครใหม่ไปแทน ในช่วงระยะสุดท้ายจิตรกรอาสาสมัครมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๖ คน และ ๓ คน อยู่เขียนภาพมาตลอด ๓ ปี


ปฐมเทศนา

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธปทีปนี้ แตกต่างจากภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยและสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งในด้านเทคนิคการเขียนภาพ การจัดวางองค์ประกอบของภาพ สีสัน ความละเอียด มิติและศิลปะในด้านเทคนิคในการเขียนภาพนั้นเป็นแบบสมัยใหม่ โดยร่างภาพขยายจากภาพร่างครั้งแรกลงสู่ผนัง และใช้เครื่องพ่นสี ส่วนการจัดวางองค์ประกอบของภาพเป็นไปในลักษณะใหม่ไม่เหมือนดบราณ คือเน้นในลักษณะภาพเล็กภาพใหญ่ไม่เหมือนโบราณ


มารผจญและตรัสรู้

ในด้านสีสันนั้นจะเห็นว่าสีของภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพุทธปทีปสดใสและชัดแจ้งกว่าสีของภาพฝาผนังโบราณ เพราะให้ความสำคัญในเรื่องสีมากกว่าเส้น และใช้สีสมัยใหม่ (อะครายลิค) ไม่ใช้สีฝุ่นซึ่งใช้กันมาแต่เดิม สำหรับความละเอียดของภาพนั้น ภาพฝาผนังวัดพุทธปทีปมีมากกว่าภาพฝาผนังดบราณ ทุกตารางนิ้วของภาพไม่ว่าจะอยู่ใกล้ตาหรือไกลตา แม้กระทั่งสุดขอบเพดานมีลายละเอียดยิบเหมือนกันหมด



ภาพบางตอนจิตรกรต้องใช้แว่นขยายส่องในเวลาเขียนเพื่อให้เห็นลายละเอียดที่แสนจะประณีตบรรจง ผิดกับภาพฝาผนังโบราณที่โดยมากถ้าอยู่ไกลตามักจะไม่มีรายละเอียดชัดเจน ในเรื่องมิตินั้นเล่า ภาพฝาผนังวัดพุทธปทีปเป็นภาพที่มีส่วนลึกเป็น ๓ มิติ เช่นเดียวกับภาพฝาผนังของฝ่ายตะวันตก ผิดกับภาพฝาผนังโบราณที่เป็น ๒ มิติ ส่วนสัดของภาพคนและสัตว์ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลจะเท่ากันหมด


ปาฏิหาริย์ ๘ ประการ


ปาฏิหาริย์ ๘ ประการ (สองภาพต่อกันตามแนวนอน)

ความแตกต่างที่สำคัญคือ ภาพฝาผนังโบราณมุ่งในทางให้การศึกษาทางพระพุทธศาสนาด้วยภาพเป็นหลัก ส่วนศิลปะนั้นให้ความสำคัญเป็นอันดับรอง แต่ภาพฝาผนังวัดพุทธปทีปนั้น ศิลปะเป็นสิ่งสำคัญ จิตรกรผู้วาดเห็นว่าในสมัยที่ประชาชนมีการศึกษาพอสมควรนั้น ศิลปะย่อมมาก่อนการศึกษาด้วยภาพเป็นอันดับรอง จึงไม่เน้นการเล่าเรื่องพุทธประวัติด้วยภาพ แต่เอาเรื่องราวพุทธประวัติมาเป็นสื่อในการแสดงออกเป็นงานศิลปะเพื่อศิลปะ โดยเน้นที่อารมณ์ของภาพเป็นสำคัญ


พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระพุทธมารดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเสด็จจากดาวดึงส์ลงมาทรงแสดงปาฏิหาริย์เปิดสามโลก

อย่างไรก็ตาม หลักสำคัญของภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณ ยังคงเป็นหลักของการเขียนภาพฝาผนังวัดพุทธปทีปอยู่เช่นเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติคือตอนประสูติ มารผจญ (ตรัสรู้) ปฐมเทศนา และปรินิพพาน รวมทั้งไตรภูมิและเทพชุมนุม


ภาพปรินิพพาน

เฉพาะภาพเทพชุมนุมนั้น ภาพฝาผนังวัดพุทธปทีปมีไม่มากเหมือนภาพฝาผนังโบราณ ทำให้มีที่สำหรับเขียนภาพพุทธประวัติได้มากขึ้น นอกจากนั้นภาพฝาผนังวัดพุทธปทีปเป็นภาพพุทธประวัติล้วน ๆ ไม่มีภาพชาดกทศชาติแทรกอยู่ด้วยเหมือนภาพฝาผนังโบราณ



http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/08/03/entry-1
เข้าร่วม: 24 Aug 2007
ตอบ: 3945
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Sep 19, 2016 5:25 pm
[RE: ผลงานที่ฝังใจที่สุด]
อ่านจบ เลื่อนกลับขึ้นไปดูชื่อคนตั้งอีกรอบหนึ่ง






เข้าร่วม: 01 Jun 2016
ตอบ: 855
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Sep 19, 2016 5:33 pm
[RE: ผลงานที่ฝังใจที่สุด]
onimeno พิมพ์ว่า:
อ่านจบ เลื่อนกลับขึ้นไปดูชื่อคนตั้งอีกรอบหนึ่ง  
ตั้งกระทู้แนวนี้ทีไรประโยคนี้ต้องมา
1
0
เข้าร่วม: 12 Aug 2016
ตอบ: 84
ที่อยู่: Chiang Mai Thailand
โพสเมื่อ: Wed Sep 21, 2016 7:33 am
[RE: ผลงานที่ฝังใจที่สุด]
0
0
เข้าร่วม: 30 May 2010
ตอบ: 23783
ที่อยู่: ...
โพสเมื่อ: Wed Sep 21, 2016 12:06 pm
[RE: ผลงานที่ฝังใจที่สุด]
แผล่บหนูน
0
0
Eric 'The King' Canto