ผู้ตั้ง
ข้อความ
เข้าร่วม: 14 Oct 2009
ตอบ: 1346
ที่อยู่: ทุ่งหญ้าสเต็บ ปลายฝนต้นหนาว เข้าสู่ฤดูเหงา~
โพสเมื่อ: Mon Nov 30, 2015 7:19 pm
ความขัดแย้งในซีเรีย เผ่าพันธ์เปอร์เซียโบราณและอาหรับเติร์ก



หากย้อนกลับไปพิจารณาอาณาจักรอิสลามที่รุ่งเรืองอยู่ในโลกยุคกลาง เราก็จะเห็น 3 ชนชาติหลักๆ ที่มีบทบาทอยู่ในขณะนั้น คือ ชาวอาหรับ ชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) และชาวเติร์ก (ตุรกี) ทั้งสามชนชาตินี้มีลักษณะความโดดเด่นที่ไม่เหมือนกัน อาหรับในฐานะที่เป็นคนกลุ่มแรกที่รับอิสลามมาช่วงแรกในศตวรรษที่ 7 มีบทบาทในการเป็นผู้ส่งผ่านความรู้อิสลามและผู้ขยายอาณาจักรอิสลามในยุคแรกๆ
ส่วนชาวเปอร์เซียเป็นกลุ่มคนที่มาทีหลัง เป็นชนชาติที่ถูกชาวอาหรับเข้าไปพิชิตและยึดครองตั้งแต่สมัยเคาะลีฟะฮ์ อุมัร บิน ค็อฏฏอบ แต่เนื่องด้วยเปอร์เซียเคยเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มาก่อนและมีอารยธรรมเก่าแก่เป็นมรดกตกทอดที่ล้ำค่า เมื่อชาวเปอร์เซียเข้ามายอมรับนับถือศาสนาอิสลาม พวกเขาจึงมีอิทธิพลต่ออาณาจักรอิสลามอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะหลังจากอาณาจักรอิสลามย้ายเมืองหลวงจากดามัสกัสไปอยู่ที่กรุงแบกแดด
นับจากนั้นเป็นต้นมา อารยธรรมและอิทธิพลเปอร์เซียก็ทะลักไหลบ่าเข้ามาแทนที่ระเบียบเก่าในโลกอิสลามภายใต้การนำของชาวอาหรับ เช่น ลักษณะเด่นของชาวเปอร์เซียคือ เป็นพวกศิลปิน เป็นพวกที่ชอบวรรณกรรม ลักษณะเหล่านี้จึงไหลทะลักเข้ามาในอาณาจักรอิสลาม เพราะฉะนั้นจึงมีอิทธิพลทางความคิดสูงมาก ตลอดจนเปอร์เซียเป็นดินแดนของพวกนักคิดนักปรัชญาเก่า สิ่งเหล่านี้จึงเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่นำอาณาจักรอิสลามในยุคกลางไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการชนิดที่ไม่มีอาณาจักรใดในโลกยุคนั้นทัดเทียมได้



ส่วนชาวเติร์กนั้น เข้ามาในอาณาจักรอิสลามในฐานะนักรบ ลักษณะของชาวเติร์กเป็นอีกแบบที่ไม่เหมือนชาวเปอร์เซีย คือพวกเติร์กไม่ค่อยโดดเด่นมากนักในฐานะนักคิดนักปรัชญา หรือแม้แต่นักการศาสนา (อุละมาอ์) ดูอย่างประเทศตุรกีปัจจุบัน อุละมาอ์ที่มีอิทธิพลซึ่งพอมีชื่อเสียงบ้างอย่าง บะดีอุสมาน สะอีด นูรซีย์ ก็ไม่ใช่ชาวเติร์ก แต่เป็นชาวเคิร์ด แม้แต่มุฮัมมัด ฟาติห์ ซึ่งเป็นสุลต่านที่มีชื่อเสียงของอาณาจักรออตโตมานก็ได้รับการฝึกฝนมาจากชัยค์อะห์มัด อัล คุรอนีย์ ซึ่งเป็นอุละมาอ์ชาวเคิร์ด เช่นกัน
ในยุคนั้น ชาวเติร์กในตุรกีมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมุสลิมชาวเคิร์ด ซึ่งปัจจุบันเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ คงเพราะชาวเคิร์ดเป็นกลุ่มคนที่อยู่รอยต่อระหว่างเติร์ก อาหรับ และเปอร์เซีย จึงทำให้ความสัมพันธ์และการแยกแยะบทบาทของกลุ่มคนตามประวัติศาสตร์อิสลามทำได้ยาก และมักมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ



อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ชาวเปอร์เซียมีความแข็งแกร่งมากในเรื่องวรรณกรรม ถึงขนาดที่ว่าพวกเติร์กเมื่อเข้ามามีบทบาทในอาณาจักรอิสลามยังต้องรับเอาภาษาเปอร์เซียมาใช้ ราชวงศ์โมกุลซึ่งเป็นราชวงศ์ของพวกเติร์กที่เข้ามาปกครองอินเดียอยู่นานหลายศตวรรษ ยังต้องประกาศให้ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาราชการในอินเดีย แม้แต่สุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมานแทบทุกพระองค์ก็มักใช้ภาษาเปอร์เซียได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้ กลุ่มชนชาวเปอร์เซียจึงมีอิทธิพลทางความคิดในโลกอิสลามยุคกลางอย่างมาก นักคิดทางศาสนาคนสำคัญในโลกมุสลิมอย่าง อิมามฆอซาลีย์ ก็เป็นชาวเปอร์เซีย อิบนุซินา ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของโลก ก็เป็นชาวเปอร์เซีย อบูฮะนีฟะฮ์ ผู้ก่อตั้งสำนักคิดสำคัญหนึ่งในสี่ของโลกมุสลิมซุนนีย์ก็ยังเป็นชาวเปอร์เซีย
ในประวัติศาสตร์อิสลามนั้น ชาวเติร์ก (หรือชาวตุรกีปัจจุบัน) เริ่มเข้ามามีบทบาทในยุคราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ (ค.ศ. 750-1259) ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ 2 ของโลกอิสลาม ปกครองอยู่ประมาณ 400 ปี แต่เพียงแค่ร้อยปีแรกเท่านั้นที่อับบาสิยะฮ์มีอิทธิพลภายใต้การนำของอาหรับ ที่เหลืออีก 300 ปี ราชวงศ์นี้ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกเติร์กที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง พวกเติร์กมีความเชี่ยวชาญในการใช้อำนาจ เป็นความพิเศษที่ปรากฏอยู่ตลอดประวัติศาสตร์ จนกระทั่งชนชาติเติร์กกลุ่มหนึ่งสามารถตั้งอาณาจักรออตโตมานได้ในปลายศตวรรษที่ 13 หลังจากที่พวกมองโกลได้ทำลายกรุงแบกแดดไปไม่นานนัก
อาณาจักรออตโตมาน มีอายุประมาณ 600 ปี (ค.ศ. 1299-1924) เป็นราชวงศ์คิลาฟะฮ์ที่ยาวนานที่สุดในโลกอิสลาม เพราะฉะนั้นพวกเติร์กจึงมีอิทธิพลในทางอำนาจ ความเป็นมุสลิมที่มีบทบาทยาวนานเช่นนี้ได้ฟื้นคืนกลับมาใหม่ในปัจจุบัน โดยมีนายกรัฐมนตรีของตุรกี รอซิบ ตอยยิบ อุรฺดูฆอน เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นมุสลิมในแบบออตโตมาน คือในแบบความเชี่ยวชาญในการใช้อำนาจ จนบางคนเรียกรัฐบาลตุรกีชุดปัจจุบันว่า “The New Ottoman” ความรู้สึกเป็นนักรบเบอร์ 1 ของประชาชาติอิสลามยังอยู่ในจิตสำนึกของพวกเติร์กตลอดเวลา



สำหรับเปอร์เซียนั้นได้เริ่มปูทางสู่การเป็นมุสลิมสายชีอะฮ์หลังจากแบกแดดล่มสลาย ซึ่งในช่วงนี้พวกชีอะฮ์กลายเป็นพันธมิตรกับอาณาจักรมองโกล ความเป็นชีอะฮ์ของเปอร์เซียเริ่มเข้มข้นขึ้นในยุคราชวงศ์เศาะฟะวิยะฮ์ (ค.ศ.1502-1722) ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่มีเชื้อสายจากอาเซอร์ไบจานที่ได้เข้ามาปกครองเปอร์เซีย เป็นราชวงศ์ที่มีนโยบายชัดเจนและจริงจังในการเปลี่ยนดินแดนเปอร์เซียและดินแดนข้างเคียงให้เป็นชีอะฮ์
การเปลี่ยนเปอร์เซียให้เป็นชีอะฮ์ในวันนั้น ทำให้ราชวงศ์ออตโตมานเติร์กกับราชวงศ์เศาะฟะวิยะฮ์ขัดแย้งกัน เพราะราชวงศ์เศาะฟะวิยะฮ์มีความต้องการเปลี่ยนโลกอิสลามให้เป็นชีอะฮ์ ทำให้ราชวงศ์ออตโตมานเติร์ก ซึ่งมีพรมแดนติดกันที่เป็นซุนนีย์ กำหนดให้ตนเองเป็นผู้ปกป้องแนวทางซุนนีย์คู่ไปกับนโยบายพิชิตคอนสแตนติโนเปิล (ต่อมาเมื่อพิชิตได้แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็นอิสลามบูล หรือ อิสตันบูลในปัจจุบัน)
นี่คือบทบาทการแข่งขันของพวกเติร์กกับเปอร์เซีย อิหร่านกับตุรกีมีความขัดแย้งกันมาหลายศตวรรษ ความขัดแย้งอย่างนี้ทำให้ลักษณะและวิธีคิดของพวกเติร์กกับพวกเปอร์เซีย (ซึ่งมีการสั่งสมมานาน) มีความแตกต่างกัน
เศาะฟะวิยะฮ์ล่มสลายไปก่อนหน้าอาณาจักรออตโตมาน แต่ทั้งเปอร์เซียและเติร์กก็ตกอยู่ในห้วงแห่งความตกต่ำมาเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งเปอร์เซียตื่นตัวอีกครั้งในยุคใหม่หลังการปฏิวัติอิหร่านเมื่อปี 1979 อันถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบชีอะฮ์ที่ชัดเจนอีกครั้งและเข้มข้นขึ้น แต่พวกเติร์กในช่วงปฏิวัติอิหร่านนั้นไม่ได้มีแนวศาสนาที่มีอิทธิพลในประเทศตนเอง ในทางตรงข้าม พวกเติร์กบอบช้ำจากการถูกทำลายศาสนาในตุรกี กลายเป็นเซคคิวลาร์ตกขอบ หลายฝ่ายเชื่อว่าเติร์กคงสูญสิ้นอิทธิพลในโลกอิสลามไปแล้ว แต่สุดท้ายพวกเติร์กก็สามารถฟื้นขึ้นมาใหม่ในรูปของกลุ่มนิยมแนวทางอิสลามที่ปกครองประเทศมานับตั้งแต่ปี 2002


นับจากนั้น ความเข้มข้นเรื่องศาสนาของพวกเติร์กก็ไม่แพ้อิหร่าน ขณะที่นักการศาสนาของอิหร่านปรากฏตัวด้วยการเน้นแนวคิดอิมามียะฮ์ในแบบเศาะฟะวิยะฮ์ เห็นภาพผู้นำมีเครายาวและใส่สารบั่น พวกเติร์กก็เข้มข้นคล้าย ๆ กัน แม้พวกเติร์กจะไม่แสดงให้ปรากฏในรูปโฉมภายนอก แต่การตื่นตัวเรื่องอิสลามก็มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับเดียวกับของอิหร่าน พวกเขาไม่ปรากฏเครา ไม่มีสารบั่นให้เห็น แต่ข้างในของพวกเขาพัฒนาเข้มข้น ทั้ง 2 ประเทศนี้จึงเป็นยักษ์ใหญ่ของโลกอิสลามที่ได้ฟื้นตัวขึ้นมา
ด้วยเหตุนี้ ในสงครามกลางเมืองซีเรีย เราจึงเห็นอิหร่านและตุรกียืนอยู่คนละฝั่งของความขัดแย้ง ทั้งสองต้องการเข้ามาแสดงอิทธิพลในซีเรีย เพราะซีเรียเป็นเขตที่ถ้าใครครอบครองได้ก็จะสามารถชักนำโลกอิสลามได้ ตุรกีเลือกที่จะสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย ขณะที่อิหร่านก็ยืนอยู่ข้างรัฐบาลซีเรีย ความขัดแย้งรอบใหม่ในซีเรียนี้ ย่อมมีรากมาจากประวัติศาสตร์ไม่มากก็น้อย


thk google.com
เข้าร่วม: 15 Sep 2009
ตอบ: 3560
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Nov 30, 2015 7:20 pm
[RE: ความขัดแย้งในซีเรีย เผ่าพันธ์เปอร์เซียโบราณและอาหรับ]
เดี๋ยวค่อยอ่าน


เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 51333
ที่อยู่: สเปอร์ส&ชมรมคนรักหนัง&เนย
โพสเมื่อ: Mon Nov 30, 2015 7:22 pm
[RE: ความขัดแย้งในซีเรีย เผ่าพันธ์เปอร์เซียโบราณและอาหรับเติร์ก]
เพิ่งอ่านจากร้านนายอินทร์มาเลย เรื่องชาวเปอร์เซียสมัยก่อน เพลินมาก

โดย whitehunter เมื่อวันที่ 30 April 2019 20.04 [เหตุผล]
เข้าร่วม: 15 Sep 2010
ตอบ: 4279
ที่อยู่: BKK
โพสเมื่อ: Mon Nov 30, 2015 7:27 pm
[RE: ความขัดแย้งในซีเรีย เผ่าพันธ์เปอร์เซียโบราณและอาหรับเติร์ก]
แน่นอน
อิสระ....มาพร้อมกับความอ้างว้าง
เข้าร่วม: 04 Sep 2013
ตอบ: 5685
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Nov 30, 2015 7:36 pm
[RE: ความขัดแย้งในซีเรีย เผ่าพันธ์เปอร์เซียโบราณและอาหรับเติร์ก]
สาระล้วนๆเลยอันนี้
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 2163
ที่อยู่: anfield
โพสเมื่อ: Mon Nov 30, 2015 7:50 pm
[RE: ความขัดแย้งในซีเรีย เผ่าพันธ์เปอร์เซียโบราณและอาหรับเติร์ก]
มีสาระตอนสิ้นเดือนด้วย

You ' ll never walk alone
เข้าร่วม: 12 Jul 2014
ตอบ: 1194
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Nov 30, 2015 7:53 pm
[RE: ความขัดแย้งในซีเรีย เผ่าพันธ์เปอร์เซียโบราณและอาหรับเติร์ก]
สาระ
Spoil
เด่วกลับมาอ่าน  


เข้าร่วม: 11 Nov 2013
ตอบ: 884
ที่อยู่: 555/142
โพสเมื่อ: Mon Nov 30, 2015 7:53 pm
[RE: ความขัดแย้งในซีเรีย เผ่าพันธ์เปอร์เซียโบราณและอาหรับเติร์ก]
ผมชอบอ่านมากลงบ่อยๆนะคับ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 15055
ที่อยู่: Stamford Bridge
โพสเมื่อ: Mon Nov 30, 2015 8:08 pm
[RE: ความขัดแย้งในซีเรีย เผ่าพันธ์เปอร์เซียโบราณและอาหรับเติร์ก]
อ่านแล้วไม่ผิดหวัง